Page 13 - ISSUE25_MARCH
P. 13
W W W . H E A L T H A D D I C T . C O M
ใครที่ขับถ่ายยาก คงเข้าใจความอึดอัดไม่สบายตัวกันเป็นอย่างดี แถมกินยาระบาย
ยังไงก็ไม่เห็นผล นั่นอาจเป็นเพราะอาการท้องผูกที่เป็นอยู่ ไม่ใช่แค่เรื่องของไฟเบอร์ต�่า
แต่เกิดจากการท�างานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายที่ไม่สามารถ
แก้ได้ด้วยการกินยาถ่ายเหมือนที่หลายคนคิด
“ท้องผูก” กับการท�างานของล�าไส้ส่วนปลายและหูรูดทวารหนักที่ผิดปกติ
จริงๆ แล้วอาการท้องผูกนั้นบอกถึงความผิดปกติได้หลายอย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือ “การท�า
งานของล�าไส้ส่วนปลายและหูรูดทวารหนักที่ผิดปกติ” ซึ่งโดยกลไกของระบบทางเดิน
อาหารส่วนปลายนั้น เมื่ออุจจาระเคลื่อนผ่านลงมาในทวารหนักล�าไส้ส่วนปลายจะท�าหน้าที่
บีบตัว และเมื่อถึงเวลาที่ต้องการขับถ่าย กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักก็จะคลายตัวเพื่อให้อุจจาระ
เคลื่อนที่ผ่านออกมา ซึ่งถ้าล�าไส้ส่วนปลายเคลื่อนไหวช้าหรือกล้ามเนื้อหูรูดไม่คลายตัว ก็จะ
ท�าให้มีปัญหาท้องผูกได้
Sitzmarks Capsule คืออะไร? ท�าไมคนท้องผูก (เรื้อรัง)...ควรรู้จัก
การกลืน Sitzmarks Capsule เป็นวิธีที่แพทย์ใช้เพื่อทดสอบการเคลื่อนไหวของล�าไส้
ใหญ่ ช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องผูก
เรื้อรังได้ตรงกับสาเหตุที่แท้จริง โดยใน Sitzmarks Capsule นั้น จะบรรจุ Radiopaque
Marker ที่มีลักษณะเป็นห่วงขนาดเล็กๆ หรือ O-Ring จ�านวน 24 ชิ้น ซึ่งเป็น
วัสดุทึบแสงรังสีที่สามารถมองเห็นได้จากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งแพทย์จะ
ประเมินว่ากากอาหารหรืออุจจาระสามารถเคลื่อนตัวได้เร็วหรือช้าจากจ�านวนของ O-Ring
ที่คงเหลืออยู่
Step การตรวจก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด!
ส�าหรับขั้นตอนการตรวจนั้นจะใช้เวลาประมาณ 5 วัน โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยกลืน Sitzmarks
Capsule เข้าไปทางปากพร้อมกับน�้าเปล่า (Day 1) อารมณ์จะเหมือนกับเรากินยาปกติ
หลังจากนั้นก็กลับบ้านและใช้ชีวิตประจ�าวันได้ตามปกติไปอีก 4 วัน (Day 1-4) ก่อนจะกลับ
มาพบแพทย์อีกครั้งในวันที่ 5 (Day 5) เพื่อท�าการตรวจ flat plate abdominal X-ray
เมื่อถึงเวลาประมวลผล...เพื่อหาสาเหตุ
หลังจากเอกซเรย์เพื่อเช็ก O-Ring ที่เหลืออยู่ แพทย์ก็จะแปรผลเพื่อประเมินสาเหตุออกเป็น
3 กรณีด้วยกัน คือ
Case #1: เมื่อผลเอกซเรย์พบว่า...มีจ�านวนของ O-Ring ที่ถูกขับถ่ายออกไปจากร่างกาย
มากกว่า 80% หรือ เหลือจ�านวน O-Ring ไม่เกิน 5 ชิ้น ประเมินได้ว่า “ระบบการท�างาน
การเคลื่อนไหวของล�าไส้เป็นปกติ”
Case #2: เมื่อผลเอกซเรย์พบว่า...จ�านวนของ O-Ring ส่วนใหญ่กระจัดกระจายไปตาม
ส่วนต่างๆ ของล�าไส้ใหญ่ ประเมินได้ว่า “ระบบการท�างานการเคลื่อนไหวของล�าไส้มีลักษณะ
เฉื่อยหรือช้า”
Case #3: เมื่อผลเอกซเรย์พบว่า...จ�านวนของ O-Ring ส่วนใหญ่มีการค้างสะสมอยู่ตรง
บริเวณล�าไส้ส่วนปลาย ก็จะประเมินได้ว่า “ระบบการท�างานการเคลื่อนไหวของล�าไส้ใหญ่
เป็นปกติ แต่ส่วนปลายล�าไส้ใหญ่มีลักษณะเฉื่อย ช้า หรืออุดกั้น”
ใครที่มีพฤติกรรมชอบซื้อยาระบายมากินเอง คงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมกันแล้วล่ะ เพราะถ้า
อาการท้องผูกของคุณเกิดจากล�าไส้ส่วนปลายบีบตัวช้า เคลื่อนตัวช้า หรือกล้ามเนื้อหูรูด
ทวารหนักไม่ยอมคลายตัว การกินยาระบายก็ไม่ช่วยอะไร เพราะเหตุผลนี้แหละที่ท�าให้ศูนย์
ระบบทางเดินอาหารและตับ รพ.พญาไท 2 ได้น�าวิธีตรวจการเคลื่อนไหวของล�าไส้ด้วยการ
กลืน Sitzmarks Capsule มาช่วยค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการท้องผูกเรื้อรัง! A D D I C T | 13