‘4 Reasons’ ทำไมเทคโนโลยี AI ต้องมาคู่กับการแพทย์
วันนี้ขอพาอัพเดทวิวัฒนาการของเจ้า AI (Artificial Intelligence) ที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในวงการแพทย์ปี 2020 นี้กันซักหน่อย
ถ้ายังจำกันได้…เมื่อปีที่แล้วเราเคยจัดลำดับเทคโนโลยี “AI โรบอท” ที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้สูงวัยและผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปแล้ว ซึ่งครั้งนี้เราแอบได้ยินมาว่า มันได้ถูกพัฒนาเพิ่มเพื่อช่วยให้แพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะพัฒนาได้ดีขนาดไหน มาดูกัน…
#1 เรื่องทำ Screening อาจต้องพึ่ง AI
ถ้าคุณถามเราว่า ควรไว้ใจการทำงานของ AI ได้มากแค่ไหน? เรายังให้คำตอบคุณ "ไม่ได้" รู้เพียงแค่ว่าทางรองประธานอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การดูแลสุขภาพ และการพัฒนาธุรกิจจากบริษัท Nuance “Pete Durlach” ออกมาบอกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ การตรวจ screening ของหมอ รวมไปถึงการพักฟื้นของผู้ป่วยจะมีการนำAI technology เข้ามาใช้อย่างแน่นอน โดยเรามองว่ามันอาจจะต้องใช้ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ควบคู่ไปด้วย
#2 จบปัญหาการเก็บข้อมูลของคนไข้แบบ “PAPERWORK”
ทุกคนต้องเคยชินกับการไปหาหมอที่คลีนิก หรือโรงพยาบาลแล้วเห็นแฟ้มประวัติของตัวเองโยกย้ายไปมา หรือเห็นการบันทึกข้อมูลของหมอด้วยการเขียนลงเปเปอร์ ไม่ก็หันไปนั่งพิมพ์คำวินิจฉัยหลังจากคุยกับเราเสร็จ ซึ่งการเก็บ Data รูปแบบนี้ มีแนวโน้มว่าจะไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้ว เนื่องจากจะมีการใช้ AI Sensing Technology มาช่วยบันทึกคำพูดของหมอและคนไข้ และไม่แน่ว่าคำพูดจากบทสนทนาจะถูกบันทึกแบบอัตโนมัติด้วย
Photo Credit: Unsplash
#3 ธุรกิจ Health Care โฟลวงานได้สบายขึ้น!
ไมว่าจะเป็นการดูแล การให้บริการ ส่งข้อมูลไปให้ผู้ป่วย ทั้งหมดจะถูกจดจำโดยเจ้าเอไอนี่ล่ะ!...วารสารบันทึกข้อมูลของ MedTech Europe บอกว่า การใส่ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำด้วยเทคโนโลยีนี้ มีส่วนช่วยเรื่องความมั่นคงปลอดภัย โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานด้าน Cybersecurity และยังเสริมให้การจัดการด้าน Supply Chain ของธุรกิจ Health Care ดำเนินไปได้ดีอีกด้วย ไม่ว่าจะขายโปรแกรมตรวจสุขภาพตัวไหน คนไข้มีนิสัยยังไง คุณก็สามารถให้บริการที่ตอบโจทย์ได้อย่างแม่นยำและตรงใจผู้ป่วยได้ตรงจุดมากขึ้น!
#4 หายห่วงเรื่อง AI เทคโนโลยี “มาแทนที่บุคลากรทางการแพทย์”
Mr. Durlach บอกว่า แนวคิดหรือความเชื่อแบบนี้ลดลงไปมากถ้าเทียบกับเมื่อก่อน "เทคโนโลยีนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพียงเพื่อให้แพทย์กับผู้ป่วยได้ปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นเท่านั้นเอง โดยแพทย์จะสามารถวางแผนการรักษาได้ง่ายและสะดวกมากกว่าเดิม เพราะเขาจะมีเวลาโฟกัสกับคนไข้ได้นานขึ้น" อีกอย่าง เจ้าเอไอยังช่วยเซฟเวลาที่หมอต้องนั่งจ้องคอมแล้วคีย์ข้อมูลระหว่างคุยกับคนไข้ไปในตัวอีกด้วย
Photo Credit: Unsplash
เรียกได้ว่า AI เกิดขึ้นมาเพื่อให้เราได้ใช้งานแบบครบรอบด้านจริงๆ และอีกไม่นานนี้เราจะได้เห็นการใช้งานมันกับการแพทย์เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน อ้อ! อีกสิ่งหนึ่งที่เราอยากบอกคือ...ถึงแม้จะมีการพัฒนาให้ดีแค่ไหน ทุกอย่างก็ต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่ดี เพราะฉะนั้น หายห่วงเรื่องที่คุณกำลังกลัวกันอยู่ อย่างการเข้าใจว่าคุณอาจจะได้นั่งคุยกับหุ่นยนตร์แทนหมอ หรือถูกวินิจฉัยโรคแบบเจาะลึกด้วยเอไอยังไงล่ะ...