ไม่อยากเสี่ยงโรคร้าย อย่าปล่อยให้สัตว์เลี้ยงป่วย !

เราเชื่อว่ายังมีหลายคนที่เวลาเห็นน้องหมา น้องแมวป่วย แล้วเมินใส่ ไม่ได้สนใจจะพาไปหาหมอ เพราะคิดเอาเองว่าไม่น่ามีอะไรร้ายแรง แต่รู้มั๊ย? ว่าการทำแบบนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อชนิดที่เราเองก็คาดไม่ถึงเลยล่ะ แต่ก่อนอื่นเราจะพาย้อนไปดูกันหน่อยว่าในอดีตนั้น มีโรคร้ายอะไรที่แฝงอยู่ในสัตว์และแพร่มาถึงมนุษย์อย่างเราได้บ้าง 

"การละเลย" จุดเริ่มต้นของ “West Nile Fever”   
ใครจะไปรู้ว่าการที่เราเมินเฉย หรือไม่ได้ใส่ใจต่ออาการป่วยของน้องหมา น้องแมว มันจะร้ายแรงขนาดนี้ ย้อนกลับไปปี 1999 หรือปี พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นปีที่เกิดโรคที่ชื่อว่า “West Nile Fever” หรือ “โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์” ซึ่งศาสตราจารย์ เทรซี่ แมคนัมเมร่า (Tracey McNamara) ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยาและสัตววิทยาท่านนี้ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบโรคดังกล่าว เธอเล่าว่าตอนนั้นเจ้าหน้าที่และสัตวแพทย์ในสวนสัตว์ที่เธอทำงานอยู่ด้วยไม่มีใครรู้หรือเห็นความผิดปกติเกี่ยวกับการตายของฝูงอีกาที่ล้มตายเป็นจำนวนมาก และผู้คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใส่ใจอะไร ไม่มีแม้กระทั่งการตรวจสอบสาเหตุว่าเกิดขึ้นได้ยังไง ทำไมเหล่าอีกานั้นถึงตาย โดยหารู้ไม่ว่านี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดที่น่ากลัวตามมา 

เพราะโรคที่เกิดใน "สัตว์" ก็อาจแพร่กระจายสู่ "มนุษย์" ได้
ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ West Nile Fever ได้ไม่นาน ทาง NEWYORK CITY HEALTH DEPARTMENT ก็ได้ออกประกาศว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนมากด้วยโรคภาวะสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส เพียงแต่ตอนนั้นก็ยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นไวรัสสายพันธ์ุอะไร ซึ่งความจริงแล้วก็พบว่าเจ้าเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์นี่ล่ะที่ทำให้เกิดโรคสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งตรงกับข้อสันนิษฐานที่ศาสตราจารย์เทรซี่ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ก่อนหน้านี้ว่า นกที่เราเห็นบินๆ อยู่ก็เป็นพาหะนำโรคมาสู่คนได้ เพราะหลังจากนั้นก็พบว่ามีนกและยุงเป็นพาหะของโรคไข้สมองอักเสบจริงๆ ซึ่งตอกย้ำผลจากการวิจัยขององค์กร World Health Organization ที่บอกว่า โรคในสัตว์และคนนั้น “มีความสัมพันธ์และสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้”  

ไม่อยากเสี่ยงโรค...ต้องหมั่นเป็นคนช่างสังเกตและเอาใจใส่
และไม่ใช่แค่โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเท่านั้นที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์ที่ป่วยมาสู่คนได้ ซึ่งยังมีโรคเขื้อราในสมองที่อันตรายไม่แพ้กันอีกด้วย โดยเชื้อนี้จะถูกแพร่ผ่านการสัมผัสอุจจาระ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการป่วยของสัตว์เลี้ยงอย่างน้องแมวได้ง่ายๆ คือ เขาทานน้อยลง ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือดและอาจมีอาการชักหรือกระตุก ส่วนอาการในคนนั้นอาจจะไม่ได้มีอาการแสดงที่ชัดเจน  เพราะฉะนั้นเมื่อสังเกตเห็นอาการผิดปกติของสัตว์เลี้ยงเหมือนที่เราได้บอกมา เราแนะนำให้รีบพาไปหาสัตวแพทย์และเชคสุขภาพของตัวเองด้วยว่ามีการรับเชื้อเข้าไปหรือเปล่า เพราะถ้าเกิดเป็นโรคนี้ขณะที่ตั้งท้องอยู่ อาจทำให้เกิดภาวะแท้งได้เลย และเพื่อเป็นการป้องกัน เราแนะนำให้ทุกครั้งที่เอากระบะอุจจาระแมวไปทำความสะอาดหรือเก็บอุจจาระ  ควรใส่ผ้าปิดจมูกป้องเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคจากอุนจิ สวมใส่ถุงมือ และควรนำกระบะออกไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนนำกลับเข้ามาใช้ภายในบ้านหรือเข้ากรงนั้นเอง!  

เห็นมั้ย? ว่าถ้าเราเห็นสัตว์ป่วยแล้วไม่สนใจพวกเขา โรคติดต่อร้ายแรงอาจเกิดขึ้นได้แบบไม่ทันตั้งตัว แถมยังเป็นอันตรายถึงชีวิตอีกด้วย ฉะนั้นมาช่วยกันดูแล สร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับสัตว์เลี้ยงเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีกัน!

 
-->