ไขข้อข้องใจ อากาศ 'ร้อน' COVID19 ไม่ปลื้มจริงหรอ?



เพราะอากาศบ้านเราขึ้นชื่อว่าเป็นเมือง “ร้อน” หลายคนอาจเข้าใจว่าร้อนๆ แบบนี้ โควิด-19 ต้องไม่สู้…แต่ไม่แน่นะว่าคุณอาจคิด “ผิด”

ช่วงนี้...ประเทศแถบเมืองหนาวในยุโรปหรือโซนทวีปอเมริกามีทีท่าว่าต้องรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดอย่างต่อเนื่อง แบบนี้หรือเปล่า? ทำให้หลายคนเบาใจและเข้าใจว่าประเทศไทยกับอุณหภูมิประมาณ 35-40 องศานี้ไม่น่าจะต้องทำให้เราต้องมารับมือหรือกังวลมาก ก่อนจะตั้งข้อสรุปกัน เราขออธิบายข้อมูลหลักๆ ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันให้เคลียร์และเข้าใจตรงกันตามนี้…

 

 1.ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ล่าสุดบอกไว้ว่า สภาพอากาศร้อนหนาวหรือร้อนชื้นนั้นไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่าสามารถลดการกระจายของไวรัสโควิด-19 ในคนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะการมีชีวิตรอดของไวรัสชนิดนี้ไม่เกี่ยงอุณหภูมิร้อนหนาว มันอยู่ได้หมด 

2. ทางสำนักข่าวบีบีซีออกมาให้ข้อมูลว่า การมีชีวิตอยู่ของไวรัสชนิดนี้ก็อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาล เช่น ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ซึ่งประเด็นนี้ก็ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ 

3. ศาสตราจารย์ Mohammad Sajadi จาก University of Maryland’s Institute of Virology บอกว่า อุณหภูมิที่อุ่นกว่ามีแนวโน้มว่าจะทำให้การแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คนนั้นยากขึ้น ซึ่งนี่ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในวงกว้างอยู่ดี (เพราะฉะนั้นประมาทไม่ได้)

4.ส่วนใครที่สงสัยว่าอุณหภูมิบ้านเรา ไวรัสCovid-19 ชนิดนี้อยู่ได้นานกี่นาที/ชั่วโมง? เรามีข้อมลูที่พอให้คำตอบคุณได้บ้าง นั่นก็คืองานวิจัยจากวารสาร New England Journal of Medicine ที่บอกว่าไวรัสนี้จะออกมาจากละอองฝอยของผู้ติดเชื้อเวลาไอ ซึ่งมันมีชีวิตอยู่ในอากาศได้นานถึง3 ชั่วโมง ยิ่งถ้าคุณหายใจอยู่ในระบบแอร์ที่อากาศหมุนเวียนอยู่ตลอด อย่างบนรถเมล์หรือในออฟฟิศ ก็มีแนวโน้มว่าไวรัสชนิดนี้จะลั้นลาได้นานขึ้นไปอีก 

และส่วนเรื่องของอุณหภูมิตัวเลขบ้านเรากับชั่วโมงอายุขัยของ covid-19 นั้น เชื่อว่ายังคงมีทีมงานวิจัยทั่วโลกไล่ศึกษาอยู่เช่นกัน  หากมีข้อมูลเพิ่มเติมสัญญาว่าจะรีบมาอัพเดทชาว HA ทันทีเลย



 
-->