โคลิค (BABY COLIC)...ฝันร้ายของพ่อแม่มือใหม่
เพราะลูกคุณไม่ใช่ปาล์มมี่ ที่ “อยากจะร้องดังๆ” ขึ้นมาเมื่อไหร่ ใครๆ ถึงอยากจะฟัง โดยเฉพาะถ้าเป็นเวลาที่คนจะหลับจะนอน นี่แทบอยากจะกดปุ่ม mute ให้เสียงเงียบลงหน่อย ถึงแม้จะมีงานวิจัยของทีมงานจากมหาวิทยาลัย Flinders ในออสเตรเลีย ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Pediatrics บอกว่าการปล่อยให้ลูกนอนร้องไห้จนหลับไปเองนั้น จะไม่ก่อผลกระทบทางจิตวิทยาให้กับเด็กในระยะยาว แต่คนเป็นพ่อเป็นแม่นี่สิที่จะแย่ไปซะก่อน
#พ่อแม่ต้องรู้ เมื่อลูกเป็น...โคลิค
ถ้าลูกน้อยวัย 2 - 4 สัปดาห์ของคุณ ร้องไห้อย่างหนัก ชนิดที่คนเป็นพ่อแม่ก็ไม่ทราบสาเหตุ เลยไม่สามารถกล่อมให้หยุดร้องไห้ได้ อาการแบบนี้อาจจะดูว่าเป็นปกติที่เกิดขึ้นได้กับทารกทั้งชายและหญิง ต่อให้จะมีสุขภาพดี หรือดื่มนมได้เป็นปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่หิว หรือไม่สบายตัวก็มักจะส่งเสียงร้องไห้ออกมา เพราะพูดจาสื่อสารไม่ได้ ฉะนั้นก็เลยเป็นหน้าที่ของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องเล่นเกมเดาใจลูกน้อย แต่ถ้าร้องไห้ในช่วงเวลาเดิมๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะตอนเย็นหรือหัวค่ำ ร้องเสียงดัง แหลม และนานกว่าปกติ นับเวลาโดยรวมแล้วจะร้องไห้ประมาณวันละ 3 ชั่วโมง มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และยาวนานถึง 3 สัปดาห์หรืออาจนานกว่านั้น และจะดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3 - 4 เดือนแบบนี้ อาจเป็นอาการของ...โคลิค
#อะไรทำให้ลูกเป็นโคลิค
ที่มาของโคลิคที่เกิดกับเด็กนั้น อาจจะยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นเพราะสาเหตุเหล่านี้
#พ่อแม่ต้องรู้ เมื่อลูกเป็น...โคลิค
ถ้าลูกน้อยวัย 2 - 4 สัปดาห์ของคุณ ร้องไห้อย่างหนัก ชนิดที่คนเป็นพ่อแม่ก็ไม่ทราบสาเหตุ เลยไม่สามารถกล่อมให้หยุดร้องไห้ได้ อาการแบบนี้อาจจะดูว่าเป็นปกติที่เกิดขึ้นได้กับทารกทั้งชายและหญิง ต่อให้จะมีสุขภาพดี หรือดื่มนมได้เป็นปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่หิว หรือไม่สบายตัวก็มักจะส่งเสียงร้องไห้ออกมา เพราะพูดจาสื่อสารไม่ได้ ฉะนั้นก็เลยเป็นหน้าที่ของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องเล่นเกมเดาใจลูกน้อย แต่ถ้าร้องไห้ในช่วงเวลาเดิมๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะตอนเย็นหรือหัวค่ำ ร้องเสียงดัง แหลม และนานกว่าปกติ นับเวลาโดยรวมแล้วจะร้องไห้ประมาณวันละ 3 ชั่วโมง มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และยาวนานถึง 3 สัปดาห์หรืออาจนานกว่านั้น และจะดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3 - 4 เดือนแบบนี้ อาจเป็นอาการของ...โคลิค
#อะไรทำให้ลูกเป็นโคลิค
ที่มาของโคลิคที่เกิดกับเด็กนั้น อาจจะยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นเพราะสาเหตุเหล่านี้
- กล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารหดเกร็ง
- มีลมหรือแก๊สในท้อง ซึ่งการร้องไห้อาจทำให้ยิ่งกลืนลมเข้าไปในท้องมากขึ้น
- ถูกกระตุ้นจากภายนอก เช่น เสียงดัง หรือแสงไฟ
- จากพื้นฐานทางอารมณ์ของเด็ก หรือพ่อแม่ที่มีปัญหาทางอารมณ์
- มีการพัฒนาของระบบประสาทที่ยังไม่สมบูรณ์
- ป้อนนมผิดวิธี คือป้อนมากหรือน้อยเกินไป
- ปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ที่ตัวเด็ก
ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการร้องไห้หนักมาก ร้องนาน ร้องเสียงแหลม หรือกระสับกระส่าย ไม่ยอมกินนม อาเจียนเป็นของเหลวสีเขียว อุจจาระเป็นเลือด มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 เดือน หรือมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสในเด็กอายุ 3 - 6 เดือน ชัก หายใจผิดปกติ ตัวเขียวหรือซีด กระหม่อมบุ๋ม หรือตัวอ่อนเมื่ออุ้มขึ้นมา อย่ารอช้าต้องรีบพาไปหาหมอด่วนเลย
#โคลิค...จะหลีกยังไง
เมื่อลูกน้อยร้องโยเยแน่นอนว่าจะต้องมีอะไรสักอย่างผิดปกติ อาจจะหิว ง่วง เหนื่อย กลัว เจ็บป่วย หรือไม่สบายตัว ซึ่งสิ่งที่พ่อแม่ควรจะทำเป็นลำดับแรกๆ คือ
- ตรวจดูผ้าอ้อมว่าเปียกเกินไปจนทำให้ไม่สบายตัวหรือเปล่า
- ปรับอุณหภูมิภายในห้องให้ไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป
- ลองป้อนนมดูว่าที่โยเยนั้นเป็นเพราะหิวมั้ยนะ
- หาจุกหลอกให้ดูด อาจทำให้เพลินลืมร้อง
- เปลี่ยนบรรยากาศด้วยการอุ้มไปเดินนอกบ้าน ก็น่าจะช่วยให้หายงอแงได้บ้าง
- ลูกน้อยที่อายุ 6 เดือนขึ้นไปอาจใช้การนวดสร้างความผ่อนคลาย แถมยังไล่ลมและกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ทำให้สบายตัวมากขึ้นด้วย ซึ่งท่าทางการนวดนั้นควรจะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน เพื่อให้ไม่กลายเป็นการสร้างความเจ็บปวดให้ลูกน้อยแทน
ส่วนที่นอกเหนือจากนี้ อาจเป็นการร้องไห้เพราะเจ็บป่วยหรือเป็นผลมาจากความผิดปกติในร่างกาย ดังนั้นควรต้องพาไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจสอบหาสาเหตุที่ถูกต้อง ก็คงจะเป็นทางออกที่ดี (และสบายใจ) แบบไม่พึ่งไสยศาสตร์ด้วย