เลือกให้ดี ลิปสติกที่ใช้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ถึงใส่แมสก์อยู่ แต่ปากต้องดูสวยไว้ก่อน...สาวคนไหนที่ถือคตินี้ต้องระวังให้ดีหน่อยแล้ว เพราะเว็บไซต์แท็บลอยด์ เดลีเมล ของอังกฤษ ได้รายงานว่าลิปสติกสีสวยที่สาวๆ ใช้กันอยู่ทุกวันนั้น อาจมีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แถมยังน่ากลัวไปอีกว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหากล้ามเนื้อ รบกวนการทำงานของฮอร์โมน ปนปื้อนโลหะหนักที่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย รวมถึงความเสี่ยงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ และโรคข้อต่ออักเสบ
รู้มั้ย? สารเหล่านี้อาจมีอยู่ใน “ลิปสติก”
โดยทั่วไปแล้วในลิปสติกหนึ่งแท่งจะประกอบไปด้วย ไขหรือแว็กซ์ จะช่วยให้ลิปสติกสามารถขึ้นรูปเป็นแท่งตามที่ต้องการ และทำให้เนื้อลิปกระจายตัวได้ง่ายขึ้นขณะทา น้ำมัน อาจเป็นน้ำมันปิโตรเลียม หรือน้ำมันจากธรรมชาติอย่างลาโนลิน โกโก้บัตเตอร์ โจโจ้บา หรือน้ำมันละหุ่ง ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสารให้ความนุ่มลื่นแก่ริมฝีปาก และเม็ดสี มีหน้าที่ช่วยแต่งเติมสีสันของลิปสติก รวมถึงบางยี่ห้ออาจมีการเติมสารให้ความนุ่มลื่นที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำและช่วยให้สีของลิปสติกติดทนนาน หรืออาจเติมแร่ไมกาหรือซิลิกา เพื่อช่วยให้ลิปสติกมีความมันเงาและฉ่ำวาว เพื่อสร้างความคุณสมบัติเฉพาะให้กับลิปสติก ซึ่งอาจเป็นอันต่อสุขภาพได้ ดังนี้
รู้มั้ย? สารเหล่านี้อาจมีอยู่ใน “ลิปสติก”
โดยทั่วไปแล้วในลิปสติกหนึ่งแท่งจะประกอบไปด้วย ไขหรือแว็กซ์ จะช่วยให้ลิปสติกสามารถขึ้นรูปเป็นแท่งตามที่ต้องการ และทำให้เนื้อลิปกระจายตัวได้ง่ายขึ้นขณะทา น้ำมัน อาจเป็นน้ำมันปิโตรเลียม หรือน้ำมันจากธรรมชาติอย่างลาโนลิน โกโก้บัตเตอร์ โจโจ้บา หรือน้ำมันละหุ่ง ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสารให้ความนุ่มลื่นแก่ริมฝีปาก และเม็ดสี มีหน้าที่ช่วยแต่งเติมสีสันของลิปสติก รวมถึงบางยี่ห้ออาจมีการเติมสารให้ความนุ่มลื่นที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำและช่วยให้สีของลิปสติกติดทนนาน หรืออาจเติมแร่ไมกาหรือซิลิกา เพื่อช่วยให้ลิปสติกมีความมันเงาและฉ่ำวาว เพื่อสร้างความคุณสมบัติเฉพาะให้กับลิปสติก ซึ่งอาจเป็นอันต่อสุขภาพได้ ดังนี้
- พาราเบน (Paraben) สารเคมีที่ใช้เป็นสารกันบูดในผลิตภัณฑ์ต่างๆ พบมากในเครื่องสำอาง ซึ่งถ้าร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็สามารถทำลายฮอร์โมน โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่อาจทำให้เกิดภาวะแท้ง
- สารเมธอะคริเลต มักพบในลิปสติกที่ทำให้เกิดความเงางาม หากใช้ต่อเนื่องติดต่อกัน ก็จะมีผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และสามารถพัฒนาเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือ SLE ได้
- สารหนู เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพราะปัสสาวะ ตับ ปอด และยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลเสียต่อหัวใจ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เบาหวาน และระบบการทำงานของกระเพาะและลำไส้
- สารปรอท ที่ก่อให้เกิดผิวระคายเคืองสูง และยังเป็นผลเสียต่อระบบประสาท ลดการทำงานของไต เป็นสาเหตุของร่างกายอ่อนล้า และสูญเสียความทรงจำ
- ตะกั่ว เป็นอันตรายต่อผู้หญิงตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง และมีส่วนทำให้เกิดภาวะแท้ง
เลือก (และ) ใช้ให้ดี ก็ไม่มีอันตราย
ถ้าให้ตัดใจเลิกใช้คงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องเลือกกันให้ดีสักหน่อย โดยการที่จะมั่นใจได้ว่าลิปสติกที่กำลังจะหยิบขึ้นมาทาปากนั้นปลอดภัยให้ไม่ให้ดูที่....
- ฉลาก ต้องมีข้อความบอกรายละเอียดชื่อเครื่องสำอาง ประเภท หรือชนิด พร้อมชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า วิธีใช้ ปริมาณสุทธิ และที่สำคัญ คือ วันเดือนปีที่ผลิต โดยลิปสติกที่มีสรรพคุณช่วยป้องกันแสงแดด จะต้องบอกส่วนประกอบของสารควบคุม ครั้งที่ผลิต และต้องแสดงคำเตือนด้วย
- สังเกตจากภายนอกลิปสติกต้องมีผิวเรียบเนียน ไม่เยิ้ม กลิ่นไม่เหม็นหืน
- ไม่ควรซื้อมาเก็บไว้ทีละหลายแท่ง เพราะถ้าใช้ไม่ทัน ก็อาจเสื่อมคุณภาพได้
- ไม่ควรใช้ลิปสติกร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเกิดการติดเชื้อกันได้
- ทำความสะอาดริมฝีปากก่อนทางลิปทุกครั้ง หรือถ้าใครใช้พู่กันก็ควรทำสะอาดพู่กันหลังใช้ทุกครั้ง
- ถ้าสังเกตเห็นว่าสีของลิปสติกเปลี่ยนจากเดิม ให้เลิกใช้ทันที เป็นเป็นไปได้ที่จะเสื่อมคุณภาพ หรือถ้าใช้แล้วมีอาการแพ้ ควรหยุดและดูอาการ ก่อนจะรีบไปพบแพทย์หากว่าอาการยังไม่ดีขึ้น
เป็นอะไรมั้ย ถ้าเผลอกินลิปสติกลงไป
แม้การทาลิปสติกจะช่วยแต่งแต้มให้ริมฝีปากมีสีสันสวยงามน่ามอง แต่ส่วนผสมของลิปสติกอาจแฝงไปด้วยภัยจากโลหะหนักอย่างที่บอกไปแล้ว โดยได้มีการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทาลิปสติกและลิปกลอสพบว่า การใช้ลิปสติกในระดับปานกลางอาจทำให้ผู้บริโภคกลืนลิปสติกลงกระเพาะอาหารประมาณ 24 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับโครเมียมในปริมาณมาก ซึ่งโครเมียมนี้ก็มีความสัมพันธ์กับการเกิดเนื้องอกในกระเพาะอาหาร ยิ่งไปกว่านั้นถ้าได้รับแมงกานีสในปริมาณมากก็อาจทำให้เสี่ยงเกิดปัญหาในระบบประสาท ที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการสมองของผู้ใช้ในกลุ่มวัยรุ่น รวมถึงสาวๆ ที่กำลังเตรียมตัวจะเป็นคุณแม่ก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษด้วย เพราะอาจส่งผลข้างเคียงต่อลูกน้อยในท้องได้ แต่ก็อย่าเพิ่งตื่นตกใจไป เพราะเมื่อเปรียบเทียบปริมาณโลหะที่พบในลิปสติกกับโลหะที่ปนเปื้อนมากับอาหารแล้ว พบว่าปริมาณโครเมียมในลิปสติกที่ได้รับแต่ละวันมีค่าน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของโครเมียมที่ปนเปื้อนมากับอาหาร และปริมาณแมงกานีสในอาหารก็มีค่าสูงกว่า 1,000 เท่าของแมงกานีสที่ได้รับจากลิปสติก นอกจากนี้ถ้าเป็นลิปสติกที่วางขายตามท้องตลาด โดยทั่วไปจะต้องมีการกำหนดระดับมาตรฐานของโลหะให้อยู่ในเกณฑ์ที่ผู้ใช้สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
เพราะฉะนั้นถ้าใส่ใจเลือกสักนิดก็น่าคิส (คิด) ขึ้นอีกเยอะ!