เปลี่ยนตัวเองจากคน “หูเบา” ด้วย 5 วิธีนี้
เส้นแบ่งระหว่าง “หัวอ่อน” “เชื่อคนง่าย” และ “หูเบา” นั้นอาจจะบางพอๆ กับขนาดฝุ่น PM 2.5 และอาจก่ออันตรายต่อตัวเองและคนรอบข้างได้ไม่ต่างกันนักแน่นอนว่าการเชื่อใจกันและกันเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่ามีคนที่จ้องจะใช้ประโยชน์จากความเชื่อใจของคุณเป็นอาวุธทำร้ายคนอื่น และมีคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้โดยที่เขาไม่ได้ทำอะไรผิดด้วยซ้ำ... เราไม่ได้อยากมองโลกในแง่ร้าย แต่การเชื่อใจใครง่ายเกินไปก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก
เราเลยหาวิธีรับมือและป้องกันตัวเองจากการเป็นคนหูเบามาฝาก
Photo by Ben White on Unsplash
• ต้องช่างสังเกตให้มากกว่าเดิม
การที่คุณเป็นคนดีไม่คิดร้ายต่อใคร ไม่ได้หมายความว่าคนรอบข้างจะเป็นเหมือนคุณ แอนนี่ หลิน ไลฟ์โค้ชจากนิวยอร์กไลฟ์โค้ชชิ่ง บอกว่า การมองตามความเป็นจริงคือสิ่งสำคัญ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าใครมีเป้าหมายแฝงหรือจ้องจะหาประโยชน์จากเรา ซึ่งคนหูเบามักจะเชื่อสิ่งที่คนอื่นพูดง่ายๆ โดยไม่ได้พิสูจน์หรือมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือมายืนยัน... ทางที่ดี ถ้าคุณได้ยินหรือได้ฟังอะไรแล้วรู้สึกไม่โอเค ก็ควรจะเชื่อตัวเอง แม้ว่าคนที่เอาเรื่องราวมาบอกคุณ เขาดูเป็นคนน่าเชื่อถือก็เถอะ
การที่คุณเป็นคนดีไม่คิดร้ายต่อใคร ไม่ได้หมายความว่าคนรอบข้างจะเป็นเหมือนคุณ แอนนี่ หลิน ไลฟ์โค้ชจากนิวยอร์กไลฟ์โค้ชชิ่ง บอกว่า การมองตามความเป็นจริงคือสิ่งสำคัญ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าใครมีเป้าหมายแฝงหรือจ้องจะหาประโยชน์จากเรา ซึ่งคนหูเบามักจะเชื่อสิ่งที่คนอื่นพูดง่ายๆ โดยไม่ได้พิสูจน์หรือมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือมายืนยัน... ทางที่ดี ถ้าคุณได้ยินหรือได้ฟังอะไรแล้วรู้สึกไม่โอเค ก็ควรจะเชื่อตัวเอง แม้ว่าคนที่เอาเรื่องราวมาบอกคุณ เขาดูเป็นคนน่าเชื่อถือก็เถอะ
• ลับสมองและกึ๋นตัวเอง
ฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ หลิน บอกว่าวิธีลับสมองและฝึกให้ตัวเองมีกึ๋น ทำได้โดยการอ่านหนังสือให้หลากหลายมากขึ้น ดูภาพยนตร์หรือโทรทัศน์แบบที่ไม่เคยชอบบ้าง และเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นวิธีหนึ่งในการเรียนรู้และทำความเข้าใจจิตใจอันซับซ้อนของมนุษย์ นอกจากทำให้เรารอบรู้มากขึ้น ยังสามารถนำไปใช้รับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตจริงได้
ฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ หลิน บอกว่าวิธีลับสมองและฝึกให้ตัวเองมีกึ๋น ทำได้โดยการอ่านหนังสือให้หลากหลายมากขึ้น ดูภาพยนตร์หรือโทรทัศน์แบบที่ไม่เคยชอบบ้าง และเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นวิธีหนึ่งในการเรียนรู้และทำความเข้าใจจิตใจอันซับซ้อนของมนุษย์ นอกจากทำให้เรารอบรู้มากขึ้น ยังสามารถนำไปใช้รับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตจริงได้
• เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง
น่าจะเคยผ่านหูมาบ้าง กับสุภาษิตที่ว่า "ผิดเป็นครู" โดยประสบการณ์ที่เราได้พบเจอเปรียบเสมือนเรื่องราวที่เราแต่งแต้มในหน้ากระดาษที่ว่างเปล่า หากเป็นความผิดพลาด ก็จงเรียนรู้จากมัน เพื่อเป็นคนที่ฉลาดขึ้นได้ และไม่กลับไปทำพลาดในเรื่องเดิม หลินบอกว่า สิ่งสวยงามก็คือคุณไม่จำเป็นต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเองเท่านั้น แต่สามารถเรียนรู้ได้จากหนังสือที่อ่าน ภาพยนตร์ที่ดู และผู้คนที่อยู่รายรอบตัวคุณ
• เชื่อสัญชาติญาณตัวเองหน่อยก็ดี
Anjula Mutanda นักจิตวิทยาจากสหราชอาณาจักร บอกว่า ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวในเรื่องความเชื่อใจ ว่าคนแบบไหนเชื่อได้ คนแบบไหนเชื่อไม่ได้ ดังนั้นคุณต้องเรียนรู้ที่จะเชื่อมั่นในสัญชาตญาณของตัวเอง ให้ความสำคัญกับความรู้สึกที่คุณมีต่อคนประเภทต่างๆ ทั้งคนที่คุณชอบและไม่ชอบ ถ้าเกิดความรู้สึกแปลกๆ หรือความรู้สึกแย่ ก็อย่าเพิกเฉยต่อความรู้สึกของตัวเอง เพราะมันอาจเป็นสัญญาณบางอย่างได้
• หากเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ ต้องใช้เวลา
หากเป็นเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลกระทบในวงกว้าง ก็อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ ถ้าคุณยังพอมีเวลาอาจจะเอาเรื่องนี้ไปปรึกษากับคนที่ไว้ใจได้จริงๆ ซะก่อน แต่หากมีคนมาเร่งเร้าหรือเซ้าซี้ถาม พฤติกรรมจากคนนี้อาจสงสัยได้ว่าคิดไม่ซื่อ หรือมีเป้าหมายแฝงอยู่ก็ได้นะ
วิธีที่เราเอามาฝาก เป็นคำแนะนำกว้างๆ เท่านั้น เพราะประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับไม่มีทางเหมือนกันอยู่แล้ว ใครที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อใจ ก็สามารถเอามาแชร์กันได้นะ
วิธีที่เราเอามาฝาก เป็นคำแนะนำกว้างๆ เท่านั้น เพราะประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับไม่มีทางเหมือนกันอยู่แล้ว ใครที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อใจ ก็สามารถเอามาแชร์กันได้นะ