อย่าชะล่าใจ เพราะ ‘ร้อนใน’ ไม่ใช่เรื่องเล็ก
“ถึงอากาศข้างนอกจะร้อนแค่ไหน แต่ถ้าใจเราเย็นก็ไม่เป็นปัญหา” คาถาที่ใครหลายคนใช้ดับร้อน แต่แน่ใจหรือเปล่า เพราะความร้อนภายนอกเราอาจจะปรับตัวได้ก็จริง แต่ถ้าเป็นเรื่อง ‘ร้อนใน’ ก็ไม่ไหวจะเคลียร์เหมือนกันนะ เพราะเจ้าแผลเล็กๆ ในปากที่นอกจากจะสร้างความรำคาญใจ และเป็นมารขัดขวางความอร่อยแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งปัญหาใหญ่ที่คาดไม่ถึงอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งล่าสุดได้มีผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยรามอน อี กาฆัล ในกรุงมาดริดได้ตั้งข้อสังเกตว่า ‘ผื่น’ คล้าย ‘แผลในปาก’ ที่พบในผู้ป่วยโควิด-19 อาจเป็นอาการใหม่อีกรูปแบบหนึ่งของผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ซึ่งเขาได้ทำการตรวจภายในช่องปากของผู้ป่วยที่มีผื่นตามร่างกาย 21 คน เพื่อทดสอบดูว่ามีผื่นที่เยื่อเมือกบุผิวอวัยวะภายในด้วยหรือไม่ และผลการค้นพบที่เผยแพร่ในวารสาร JAMA Dermatology จัดพิมพ์โดยสมาคมการแพทย์อเมริกัน ระบุว่า ผู้ป่วย 6 คน ที่มีรอยผื่นที่ผิวหนัง มีแผลในปากด้วยเช่นกัน และยิ่งไปกว่านั้นมะเร็งในช่องปากยังเป็น 1 ใน 10 ของโรคมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งจุดเริ่มต้นของโรคมะเร็งในช่องปากก็เกิดขึ้นจาก ‘แผลในช่องปาก’ เล็กๆ ที่มักถูกมองข้าม
‘ร้อนใน’ อะไรเป็นสาเหตุ
1. ฟันมีปัญหา
ไม่ว่าจะฟันหัก ฟันบิ่น หรือฟันแตกก็อาจทำให้บริเวณของฟันที่แตกหักขูดกับเหงือก เนื้อเยื่อกระพุ้งแก้ม ซึ่งเมื่อการเสียดสีดังกล่าวเกิดขึ้นประจำซ้ำๆ ที่จุดเดิมก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองจนเป็นแผลได้
ไม่ว่าจะฟันหัก ฟันบิ่น หรือฟันแตกก็อาจทำให้บริเวณของฟันที่แตกหักขูดกับเหงือก เนื้อเยื่อกระพุ้งแก้ม ซึ่งเมื่อการเสียดสีดังกล่าวเกิดขึ้นประจำซ้ำๆ ที่จุดเดิมก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองจนเป็นแผลได้
2. กินของร้อน
หลายครั้งที่มัวแต่เพลิดเพลินกับของอร่อยตรงหน้าจนลืมไปว่าอาหารหรือเครื่องดื่มนั้นๆ เพิ่งขึ้นมาจากเตาสดๆ ร้อนๆ ก็อาจลวกปากจนกลายเป็นแผลได้
หลายครั้งที่มัวแต่เพลิดเพลินกับของอร่อยตรงหน้าจนลืมไปว่าอาหารหรือเครื่องดื่มนั้นๆ เพิ่งขึ้นมาจากเตาสดๆ ร้อนๆ ก็อาจลวกปากจนกลายเป็นแผลได้
3. มัน-ทอด-หวาน
ในการกินของทอด นอกจากจะมีโอกาสเกิดแผลในปากจากการกินที่ไม่ระวังจนทำให้อาหารไปขูดกับเนื้อเยื่อในปากแล้ว อาหารมันๆ จะกระตุ้นการอักเสบในช่องปากได้ เช่นเดียวกับของหวานก็ทำให้เกิดการอักเสบและเพิ่มเชื้อแบคทีเรียในช่องปากให้มากขึ้นได้หลายเท่าด้วย
ในการกินของทอด นอกจากจะมีโอกาสเกิดแผลในปากจากการกินที่ไม่ระวังจนทำให้อาหารไปขูดกับเนื้อเยื่อในปากแล้ว อาหารมันๆ จะกระตุ้นการอักเสบในช่องปากได้ เช่นเดียวกับของหวานก็ทำให้เกิดการอักเสบและเพิ่มเชื้อแบคทีเรียในช่องปากให้มากขึ้นได้หลายเท่าด้วย
4. ติดเชื้อในช่องปาก
สามารถเกิดได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัส หรือเชื้อรา ทำให้มีแผลกว้างและลึก มีน้ำเหลืองหรือหนองออกมาด้วย อีกทั้งอาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองข้างคอต้องโตด้วย
สามารถเกิดได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัส หรือเชื้อรา ทำให้มีแผลกว้างและลึก มีน้ำเหลืองหรือหนองออกมาด้วย อีกทั้งอาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองข้างคอต้องโตด้วย
แยกยังไงว่าอันไหนแผลร้อนใน อันไหนมะเร็ง?
วิธีที่ดูแบบง่ายๆ เลยคือ แผลร้อนในสามารถหายได้เอง หรือมีอาการดีขึ้นภายในระยะเวลาไม่กี่วัน ซึ่งอย่างช้าคือไม่เกิน 1 อาทิตย์ แผลจะค่อยๆ มีอาการระคายเคือง หรือเจ็บแสบน้อยลง จนเนื้อค่อยๆ ประสานกัน และแห้งไปได้ในที่สุด โดยหากว่ามีการใช้ยาช่วยก็จะยิ่งหายได้เร็วขึ้น ส่วนแผลที่เกิดจากจากมะเร็งช่องปาก จะเป็นแผลสดตลอดเวลา และไม่มีทีท่าว่าจะหายเลย หรือบางครั้งอาจมีเลือดออกมาด้วย ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ก็ยังไม่ดีขึ้น
อาการนี้ชี้ว่าอาจเป็นมะเร็ง
นอกจากแผลในปากที่ไม่หายสักที หากสังเกตพบว่ามีฝ้าสีขาว หรือแดงในเยื่อบุช่องปาก กระพุ้งแก้ม หรือลิ้น มีตุ่มหรือก้อนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีอาการเจ็บ เช่นเดียวกับมีก้อนบริเวณลำคอ ฟันโยกหรือฟันหลุด ไม่สามารถเคี้ยวและกลืนอาหารได้เป็นปกติ หรือมีเลือดออกในช่องปากโดยไม่รู้สาเหตุ นั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนภัยให้ต้องรีบไปหาหมอแล้วล่ะ
รักษา ‘ร้อนใน’ ห่างไกลมะเร็ง
• ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 – 10 แก้วต่อวัน
• กินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบีและซี รวมถึงอาหารที่มีฤทธิเย็นอย่าง มะระ สะเดา น้ำใบบัวบก น้ำข้าวกล้องงอก หรือ น้ำเก๊กฮวย เป็นต้น
• ดูแลสุขภาพในช่องปาก โดยใช้น้ำเกลือบ้วนปาก 2 – 3 ครั้งต่อวัน
• หลีกเลี่ยงหรือระวังการกินของทอดและอาหารที่มีลักษณะแข็ง ซึ่งสามารถทิ่มแทงเยื้อบุช่องปากทำให้เกิดอาการอักเสบได้
• ไม่กินอาหารเผ็ดร้อน เพราะอาจทำให้แผลในช่องปากอักเสบเพิ่มขึ้น และหายช้าลง
• ถ้ามีอาการปวดให้อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ หรือดื่มน้ำเย็น จะช่วยบรรเทาได้
• เมื่อมีแผลร้อนใน อย่าปล่อยให้เรื้อรัง แต่ควรทายาให้แผลหายเร็วขึ้น