สายอยากผอมต้องฟังไว้! ‘กินน้อยๆ ออกกำลังกายหนักๆ’ นี่แหละพฤติกรรมทำลายระบบเผาผลาญ

ถึงตอนนี้หลายๆ คนอาจจะกำลังหาทางออกจากภาวะตัวบวม ที่เกิดจากการกินไม่หยุดหย่อนในช่วง WFH โดยการลดปริมาณการกินและหันมาออกกำลังกายอย่างหนัก เพื่อหวังว่าร่างกายจะได้ดึงเอาไขมันส่วนเกินมาใช้ให้หมด วันนี้เราจะพามาดูกันว่าคอนเซปต์นี้มันทำให้เฮลธ์ตี้ได้จริงมั้ย?

 
ว่าด้วยเรื่อง ‘ระบบเผาผลาญ’
ระบบเผาผลาญ หรือเมตาบอลิสม คือกระบวนการเปลี่ยนอาหารที่ทานเข้าไป ให้อยู่ในรูปของพลังงาน เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น การทำงานของอวัยวะ การหายใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย รวมไปถึงการสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งการเผาผลาญนั้นเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในเซลล์ต่างๆ และมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของเราทุกคน โดยแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ การสลาย (Catabolism) ซึ่งเป็นการสลายสารอินทรีย์อย่างน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน และการสร้าง (Anabolism) ซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่ได้ในการสร้างส่วนประกอบของเซลล์อย่างโปรตีน โดย 2 กระบวนการนี้จะเกิดควบคู่กันไปอย่างสมดุล
 
สัญญาณเตือน เมื่อ ‘ระบบเผาผลาญ (เริ่ม) พัง’
และถึงแม้ว่าระบบเผาผลาญของคนเราจะไม่ได้พังกันง่ายๆ แต่ถ้ามีตัวไปกระตุ้นอย่างพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดๆ อย่างการกินน้อย แต่หักโหมไปกับการออกกำลังกาย ก็อาจทำให้ระบบเผาผลาญพังลงได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งอย่างที่บอกว่ามันไม่ได้ปุ๊บปั๊บพัง แต่มันมีถึง 3 ระยะ กว่าที่จะพังทลายลงอย่างแท้ทรู 
 
ระยะที่ 1: Metabolic Compensation
ในระยะนี้ระบบเผาผลาญจะเริ่มส่งสัญญาณเตือนด้วยการทำงานช้าลง น้ำหนักลงช้า และถึงแม้ว่าน้ำหนักอาจจะลงแล้ว ก็มีโอกาสที่จะทำให้น้ำหนักเด้งกลับมาได้อีก โดยเกิดจากพฤติกรรมการทานน้อยแต่ออกกำลังกายเยอะ ทำให้ร่างกายตอบสนองด้วยการดึงไขมันสะสมหรือพลังงานสำรองมาใช้นั่นเอง
 
ระยะที่ 2: Metabolic Resistance
พฤติกรรมในระยะนี้คือพอน้ำหนักลงช้า หลายคนเลยเพิ่มการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอและลดแคลอรีที่ทานเข้าไปให้น้อยกว่าเดิมไปอีก ซึ่งทำให้ร่างกายต้องสร้างกลไกของการป้องกันตัวและกระตุ้นความอยากอาหาร เพราะร่างกายต้องการเพิ่มระดับไขมันและกล้ามเนื้อ โดยสัญญาณเตือนในระยะนี้คือนอกจากน้ำหนักดูจะไม่ลดลงแล้ว ยังทำให้หลายคนเริ่มมีอารมณ์แปรปรวน รู้สึกเหนื่อยล้า และอาจมีปัญหาเรื่องการนอนหลับเพิ่มเข้ามาได้
 
ระยะที่ 3: Metabolic Damage
สัญญาณเตือนว่าคุณได้เข้าสู่ระยะพีคสุดของความพังนั่นก็คือ น้ำหนักที่หวังใจอยากให้ลดกลับดันเพิ่มขึ้นมา ทั้งๆ ที่ก็ทานปกติ ระบบย่อยอาหารเริ่มผิดปกติ มีอาการท้องอืด ประจำเดือนมาไม่ปกติ สภาพผิวเริ่มแห้งกร้าน สมองตื้อ หัวไม่แล่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ แต่บอกก่อนว่าน้อยคนมากที่จะเดินมาถึงระยะนี้ เพราะฉะนั้นรีบปรับพฤติกรรมก่อนที่จะสายเกินแก้จะดีกว่า 
 
THYMIX ตัวช่วยปรับสมดุล ฟื้นฟูระบบเผาผลาญ  
สงสัยมั้ยว่านอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว เรายังต้องทำอะไรอีก เพื่อให้ระบบเผาผลาญสามารถกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ นั่นก็คือการมองหาตัวเสริมที่จะมาช่วยในการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญนั่นเอง เพราะแน่นอนว่าการทานน้อย แต่ออกกำลังกายหนักมันส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนคอร์ติซอลจากต่อมหมวกไต ไทรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ หรือโกรทฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ซึ่งด้วยส่วนผสมหลักของ THYMIX ที่มีทั้งไทโรซีน ไอโอดีน ซิลิเนียม และอิโนชิทอล ต่างก็มีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานของต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง และต่อมไทรอยด์ ช่วยกระตุ้นการหลั่ง Growth Hormone และยังมีกรดอะมิโน 'ไทโรซีน' ที่ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนตัวสำคัญที่ส่งผลต่อกระบวนการเผาผลาญกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ THYMIX กลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจของสายเฮลธ์ตี้หลายๆ คน

 

 
 
สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ LAVITA สูตร THYMIX คลิก หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นประจำเดือน คลิก 
 
-->