รู้ทัน ความเสี่ยง ‘มะเร็งเต้านม’ ด้วยการตรวจคัดกรอง
ใครที่เคยตีมึน เลี่ยงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม คอนเทนต์นี้จะทำให้คุณเปลี่ยนไป! เพราะการตรวจเช็กเต้านมของเราเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงที่อาจนำมาซึ่งโรคร้ายแรงอย่าง ‘มะเร็งเต้านม’ ได้ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ที่ระบุว่า ในปี 2565 พบหญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด จำนวน 38,559 ราย โดยส่วนใหญ่พบในหญิงอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากที่สุด จำนวน 19,776 ราย รองลงมาคือ อายุ 50–59 ปี จำนวน 12,181 ราย และอายุ 40–49 ปี จำนวน 5,177 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่า จำนวนของผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมยังคงสูงขึ้นในทุกๆ ปี เพราะฉะนั้นใครที่เคยตีมึนไม่ยอมตรวจเช็กเต้านม อย่าหาทำ!!#ตรวจเช็กเต้านม ถ้าไม่อยากเสี่ยง
หลายคนคงมีคำถามว่า เอ๊ะ! ทำไมเราต้องเช็ก นั่นก็เพราะว่าอาการแรกเริ่มของมะเร็งเต้านมมักไม่แสดงอาการ หรือลักษณะการเจ็บปวดแต่อย่างใด ซึ่งถ้ามองเผินๆ ก็ดูเหมือนกับว่าเราไม่มีสิ่งผิดปกติอะไรเลย แต่อย่ารอให้ผิดปกติก่อนจึงค่อยไปตรวจ อย่างน้อยหากเราไม่พบความผิดปกติก็สามารถสบายใจได้ว่า เราไม่เป็นมะเร็งเต้านมอย่างแน่นอน ในทางกลับกัน ถ้าเราตรวจพบความผิดปกติ ก็อาจจะเป็นในระยะแรกเริ่ม ซึ่งสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาได้อย่างทันถ่วงที และโอกาสหายขาดก็มีสูงขึ้นด้วย
#รวมลิสต์การตรวจเช็กเต้านมแบบง่ายๆ
การตรวจเช็กเต้านมของตัวเองสามารถทำได้ทุกวันได้ง่ายๆ ส่วนอุปกรณ์ก็ใช้แค่กระจกเท่านั้นเอง และยิ่งเราเช็กบ่อยเท่าไหร่ก็จะทำให้มีความเสี่ยงน้อยลงไปเท่านั้น ดังนั้นเราลองมาดูวิธีการเช็กเต้านมที่ทุกคนสามารถทำตามได้ไม่ยาก
- การใช้มือคลำ ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยการคลำรอบๆ เต้านมไปจนถึงรักแร้ เพื่อดูว่ามีก้อนเนื้อ หรือความผิดปกติของเต้านมหรือไม่อย่างไร
- การสังเกตลักษณะของเต้านม วิธีการคือ ให้เรามองหลายๆ มุม ทั้งด้านหน้า และด้านข้างทั้งซ้ายและขวา ลักษณะทรงเต้านมที่เปลี่ยนไป หรืออาจจะมีความปกติอื่นๆ
- หัวนมมีลักษณะบวมแดง มีผื่นแดง หรือมีอาการเจ็บ ลักษณะอาการเหล่านี้ ถือเป็นความผิดปกติของเต้านม หากเรามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรพบแพทย์ เพื่อให้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญได้วินิจฉัยความผิดปกติเหล่านี้
- มีน้ำใสๆ หรือมีเลือดออกจากเต้านม อันนี้เราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ ก่อนเราอาบน้ำ หรือสามารถดูจากชุดชั้นในว่ามีรอยเลอะของน้ำใสๆ หรือเลือดติดอยู่หรือเปล่า
#อัลตราซาวด์เต้านม หน้าตาเป็นอย่างไร?
อีกหนึ่งสิ่งที่เราไม่อยากให้ทุกคนละเลย คือการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม ซึ่งเป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจหาความผิดปกติในเต้านม โดยส่งคลื่นเสียงไปกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ และสะท้อนผลกลับมาแสดงภาพที่เครื่องตรวจ ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถแยกแยะได้ว่าส่วนไหนเป็นเนื้อเยื่อปกติ ก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำ
สำหรับการอัลตราซาวด์เต้านมเหมาะกับผู้ที่มีเนื้อเต้านมหนาแน่น และผู้ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี เนื่องจากในกลุ่มอายุน้อยจะมีโอกาสพบซีสต์ในเต้านมสูง แต่ก็อาจพบมะเร็งได้ เพียงแค่โอกาสอาจจะน้อยกว่า ซึ่งอาการเตือนซีสต์ในเต้านมนั้น คือผู้ป่วยมักมีอาการปวดเต้านม โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือคลำพบก้อนบริเวณเต้านม
#ดิจิตอลแมมโมแกรม บันทึกภาพเต้านมแบบดิจิตอล
ดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) เป็นเครื่องบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิตอลที่แพทย์สามารถเรียกดูผลการตรวจ เพื่อที่จะวินิจฉัยได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งข้อดีของเจ้าเครื่องนี้คือ ผลการตรวจมีความแม่นยำสูงถึง 90% คุณภาพของการเอ็กซเรย์มีความคมชัดสูง ซึ่งสามารถเห็นถึงรายละเอียดระดับชั้นไขมันและเนื้อเยื่อของเต้านมได้ ซึ่งถ้าหากพบความผิดปกติของเต้านมแพทย์ผู้ตรวจก็สามารถวินิจฉัยได้เลย ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการตรวจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกหนึ่งข้อดีสุดท้าย คือหลายคนมีความกังวลว่า เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมจะทำงานโดยการฉายรังสีเข้าสู่ตัวของเรา ซึ่งข้อดีของเครื่องนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับปริมาณรังสีต่ำ จากการศึกษาเปรียบเทียบ กับ Mammogram ระบบเก่า พบว่าการรับรังสีของผู้รับบริการด้วย เครื่องดิจิตอล แมมโมแกรม สามารถลดปริมาณรังสีลงจากเดิมประมาณ 30-60%
การตรวจเช็กเต้านมของตนเองควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะเราอยากเห็นผู้หญิงทุกคนสุขภาพดีและห่างไกลจาก ‘มะเร็งเต้านม’
สนใจ แพ็กเกจตรวจสุขภาพ คลิก!