ปรับท่านั่งขับรถ - เดินทางแบบนี้ ไม่มีปวดหลัง
ขับรถเที่ยว...อาจฟังดูเป็นเรื่องน่าสนุก (สำหรับคนนั่ง) แต่ถามคนขับหรือยังว่าไหวมั้ย เพราะงานวิจัยของ International Archives of Occupational and Environmental Health พบว่า คนที่ขับรถนานๆ หรือต้องเผชิญกับรถติดเป็นประจำ มีความเสี่ยงที่จะปวดหลังส่วนล่าง (Low Back Pain) และกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกมากกว่าคนทั่วไปถึงสองเท่า ยิ่งไปกว่านั้นยังส่งผลต่อการเกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน และโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของกระดูกหรือข้อต่อเมื่ออายุมากขึ้นอีกด้วย แย่ล่ะสิ! แบบนี้ต้องรีบแก้ท่า (อ่านดีๆ ไม่ใช่แก้ผ้านะ) นั่งใหม่แล้ว
#เบาะนั่งเหมาะสมหรือยัง
สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อขึ้นนั่งประจำที่คนขับคือดูระยะห่างและระดับความสูงของเบาะรถ โดยนั่งให้กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar Spine) ชิดกับเบาะพอดี ในขณะที่เท้าก็สามารถเหยียบแป้นเบรคได้จนสุด และเข่าสามารถงอได้เล็กน้อยในขณะเหยียบเบรค หรือประมาณ 120 องศา ซึ่งถ้าเบาะอยู่ในระยะที่ไกลเกินไปก็จะทำให้คนขับต้องเหยียดขามากขึ้น ดีไม่ดีจะทำให้เหยียบเบรคได้ไม่เต็มที่ เสี่ยงอันตรายไปอีก ซึ่งท่านั่งที่ถูกต้องคือหัวเข่าควรจะอยู่ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับสะโพก เพื่อให้เหยียบเบรกและคันเร่งได้สะดวก จากนั้นค่อยเช็คดูความลาดเอียงของที่นั่ง โดยควรให้ต้นขาสัมผัสกับที่นั่งทั้งหมด และต้องระวังไม่ให้มีแรงกดที่ด้านหลังของเข่ามากเกินไป
#ปรับระยะ จับพวงมาลัยให้ถูกที่
เริ่มจากเลื่อนเบาะมาด้านหน้า ปรับระยะการนั่งที่เหมาะสมก่อน ให้เท้าเหยียบเบรกได้จม เหยียบคันเร่งได้สะดวก และถนัดที่สุด ส่วนการจับพวงมาลัยในงานวิจัยยังระบุด้วยว่า ส่วนใหญ่คนที่มีอาการปวดหลังจากการขับรถ มักจะจับพวงมาลัยไว้ที่ตำแหน่ง 10 โมงเช้าหรือบ่ายสองโมง ซึ่งจะทำให้เกร็งแขนและไหล่โดยไม่รู้ตัว แต่ท่าทางที่เหมาะสมคือ จับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 9 โมงเช้าหรือบ่ายสามโมง เพื่อให้ข้อศอกวางตรงที่พักแขนข้างลำตัวได้ ทำให้แขน ไหล่ และหลังผ่อนคลายมากขึ้น คือปรับระดับความสูงของพวงมาลัยให้ขนานกับหลัง ไม่ควรปรับให้สูงหรือต่ำเกินไป เพราะจะทำให้ความเมื่อยล้าเข้ามาทักทายได้ในระหว่างการขับรถทางไกล ขณะจับพวงมาลัยข้อศอกควรงอทำมุมประมาณ 120 องศา และจากจุดศูนย์กลางของพวงมาลัยถึงหน้าอกของคนขับควรมีระยะห่างประมาณ 10 นิ้ว หรือ 30 เซนติเมตร
#ขยับพนักพิงหลังสักหน่อย
ขณะนั่งขับรถแผ่นหลังของผู้ขับขี่ควรติดพนักพิงเสมอ หรือพิงได้จนถึงระดับไหล่ ควรปรับพนักพิงให้เอียงประมาณ 20 - 30 องศา วิธีสังเกตว่าพนักพิงอยู่มนระดับที่เหมาะสมหรือไม่ให้ดูจากข้อมือที่จะสามารถแตะกับพวงมาลัยได้พอดี และสามารถจับพวงมาลัยถนัดโดยไม่ต้องเหยียดแขนตึง เกร็งคอ ยกไหล่ หรือไม่มีความรู้สึกว่าต้องยกคอและหัวให้ตรง และไม่ควรปรับเบาะให้เอนมากเกินไปจนทัศนะวิสัยไม่ดี เพราะจะทำให้ต้องก้มคอเพื่อให้มองเห็นได้ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ ไหล่ และหลังตามมาได้ โดยระดับของเบาะที่เหมาะสมสำหรับสรีระควรทำมุม 100 หรือ 110 องศาฯ แต่ถ้าวางแล้วเลยตำแหน่งของข้อมือเข้ามาแสดงว่าพนักพิงตั้งตรงเกินไป
#ที่วางแขน เอาไว้พัก ไม่ใช่ (ทำให้) เมื่อยหนักกว่าเดิม
สำหรับบางรุ่น หรือรถยนต์โดยส่วนใหญ่ ซึ่งมีที่วางหรือที่พักแขนระหว่างคนขับและคนนั่งด้านหน้า ก็ควรจะใช้วางพักแก้เมื่อย ไม่ใช่วางแล้วทำให้ยิ่งเมื่อยกว่าเดิม ด้วยการปรับให้อยู่ในระดับความสูงที่เหมาะสม สามารถวางข้อศอกได้พอดี ไม่สูงเกินไป เพราะจะทำให้ต้องยกไหล่ขึ้นตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่และคอตามมา ท่าจะให้ยิ่งดีควรหยุดพักระหว่างทางทุกๆ 2 ชั่วโมง ไม่ใช่แค่รถจะได้พัก แต่ยังช่วยให้คนได้เปลี่ยนท่ายืดเส้นยืดสายเพื่อผ่อนคลายอาการเมื่อยล้าได้ แก้ง่วง และช่วยให้สดชื่นขึ้นกว่าเดิมได้ด้วย
แต่ถ้ายังไม่ยอมปรับเปลี่ยนท่าเห็นทีว่า road trip ครั้งหน้ายาแก้ปวดหลังต้องเข้าแล้วนะ
#เบาะนั่งเหมาะสมหรือยัง
สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อขึ้นนั่งประจำที่คนขับคือดูระยะห่างและระดับความสูงของเบาะรถ โดยนั่งให้กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar Spine) ชิดกับเบาะพอดี ในขณะที่เท้าก็สามารถเหยียบแป้นเบรคได้จนสุด และเข่าสามารถงอได้เล็กน้อยในขณะเหยียบเบรค หรือประมาณ 120 องศา ซึ่งถ้าเบาะอยู่ในระยะที่ไกลเกินไปก็จะทำให้คนขับต้องเหยียดขามากขึ้น ดีไม่ดีจะทำให้เหยียบเบรคได้ไม่เต็มที่ เสี่ยงอันตรายไปอีก ซึ่งท่านั่งที่ถูกต้องคือหัวเข่าควรจะอยู่ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับสะโพก เพื่อให้เหยียบเบรกและคันเร่งได้สะดวก จากนั้นค่อยเช็คดูความลาดเอียงของที่นั่ง โดยควรให้ต้นขาสัมผัสกับที่นั่งทั้งหมด และต้องระวังไม่ให้มีแรงกดที่ด้านหลังของเข่ามากเกินไป
#ปรับระยะ จับพวงมาลัยให้ถูกที่
เริ่มจากเลื่อนเบาะมาด้านหน้า ปรับระยะการนั่งที่เหมาะสมก่อน ให้เท้าเหยียบเบรกได้จม เหยียบคันเร่งได้สะดวก และถนัดที่สุด ส่วนการจับพวงมาลัยในงานวิจัยยังระบุด้วยว่า ส่วนใหญ่คนที่มีอาการปวดหลังจากการขับรถ มักจะจับพวงมาลัยไว้ที่ตำแหน่ง 10 โมงเช้าหรือบ่ายสองโมง ซึ่งจะทำให้เกร็งแขนและไหล่โดยไม่รู้ตัว แต่ท่าทางที่เหมาะสมคือ จับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 9 โมงเช้าหรือบ่ายสามโมง เพื่อให้ข้อศอกวางตรงที่พักแขนข้างลำตัวได้ ทำให้แขน ไหล่ และหลังผ่อนคลายมากขึ้น คือปรับระดับความสูงของพวงมาลัยให้ขนานกับหลัง ไม่ควรปรับให้สูงหรือต่ำเกินไป เพราะจะทำให้ความเมื่อยล้าเข้ามาทักทายได้ในระหว่างการขับรถทางไกล ขณะจับพวงมาลัยข้อศอกควรงอทำมุมประมาณ 120 องศา และจากจุดศูนย์กลางของพวงมาลัยถึงหน้าอกของคนขับควรมีระยะห่างประมาณ 10 นิ้ว หรือ 30 เซนติเมตร
#ขยับพนักพิงหลังสักหน่อย
ขณะนั่งขับรถแผ่นหลังของผู้ขับขี่ควรติดพนักพิงเสมอ หรือพิงได้จนถึงระดับไหล่ ควรปรับพนักพิงให้เอียงประมาณ 20 - 30 องศา วิธีสังเกตว่าพนักพิงอยู่มนระดับที่เหมาะสมหรือไม่ให้ดูจากข้อมือที่จะสามารถแตะกับพวงมาลัยได้พอดี และสามารถจับพวงมาลัยถนัดโดยไม่ต้องเหยียดแขนตึง เกร็งคอ ยกไหล่ หรือไม่มีความรู้สึกว่าต้องยกคอและหัวให้ตรง และไม่ควรปรับเบาะให้เอนมากเกินไปจนทัศนะวิสัยไม่ดี เพราะจะทำให้ต้องก้มคอเพื่อให้มองเห็นได้ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ ไหล่ และหลังตามมาได้ โดยระดับของเบาะที่เหมาะสมสำหรับสรีระควรทำมุม 100 หรือ 110 องศาฯ แต่ถ้าวางแล้วเลยตำแหน่งของข้อมือเข้ามาแสดงว่าพนักพิงตั้งตรงเกินไป
#ที่วางแขน เอาไว้พัก ไม่ใช่ (ทำให้) เมื่อยหนักกว่าเดิม
สำหรับบางรุ่น หรือรถยนต์โดยส่วนใหญ่ ซึ่งมีที่วางหรือที่พักแขนระหว่างคนขับและคนนั่งด้านหน้า ก็ควรจะใช้วางพักแก้เมื่อย ไม่ใช่วางแล้วทำให้ยิ่งเมื่อยกว่าเดิม ด้วยการปรับให้อยู่ในระดับความสูงที่เหมาะสม สามารถวางข้อศอกได้พอดี ไม่สูงเกินไป เพราะจะทำให้ต้องยกไหล่ขึ้นตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่และคอตามมา ท่าจะให้ยิ่งดีควรหยุดพักระหว่างทางทุกๆ 2 ชั่วโมง ไม่ใช่แค่รถจะได้พัก แต่ยังช่วยให้คนได้เปลี่ยนท่ายืดเส้นยืดสายเพื่อผ่อนคลายอาการเมื่อยล้าได้ แก้ง่วง และช่วยให้สดชื่นขึ้นกว่าเดิมได้ด้วย
แต่ถ้ายังไม่ยอมปรับเปลี่ยนท่าเห็นทีว่า road trip ครั้งหน้ายาแก้ปวดหลังต้องเข้าแล้วนะ