นอนยังไงก็ไม่เคยพอ หรือเป็นเพราะฮอร์โมนไม่สมดุลกันแน่!

เคยเป็นมั้ย รู้สึกง่วงนอนตลอด รู้สึกนอนไม่พอ ทั้งๆ ที่ก็นอนเกิน 8 ชั่วโมง เผลอๆ มากกว่านี้ด้วยซ้ำ! แต่ใจเจ้ากรรมทำไมฉันง่วงทุกทีเลย เชื่อเลยว่าความรู้สึกนี้หลายคนเคยเป็น และคงตั้งคำถามกับตัวเองว่ามันเป็นเพราะอะไรกันแน่!!!



เคยได้ยินมั้ย ที่เรานอนไม่พอ อาจเป็นเพราะ ฮอร์โมนไม่สมดุล!!!
โดยปกติร่างกายของเราผลิตฮอร์โมนขึ้นมาเพื่อสื่อสารและทำหน้าที่ร่วมกันกับอวัยวะต่างๆ เพื่อให้ร่างกายของคนเราสามารถทำงานได้อย่างปกติ ถ้าหากฮอร์โมนไม่สมดุลและมีความผิดปกติจะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนว่ามันก็คงเหมือนระบบการทำงานของเครื่องจักรที่ไม่สมบูรณ์ ร่างกายเราก็จะแสดงความผิดปกติออกมา ซึ่งปัญหาการนอนไม่พอ รู้สึกง่วงระหว่างวันบ่อยๆ รวมทั้งภาวะความเครียด ก็ถือเป็นความปกติอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลโดยตรงกับปัญหาสุขภาพในระยะยาว

3 ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการนอนโดยเฉพาะ
เมื่อเรารู้แล้วว่าฮอร์โมนนั้นสำคัญอย่างไร เราอยากให้ทุกคนโฟกัส 3 ฮอร์โมนที่ส่งผลโดยตรงในเรื่องของการนอนหลับเหล่านี้!!!

1. เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารต้านความเครียดที่หลั่งจากสมองและหลั่งจากทางเดินอาหารที่มีผลกับการทำงานของกล้ามเนื้อ อารมณ์ พฤติกรรม และการนอนหลับ ถ้าระดับฮอร์โมนต่ำเกินไปจะทำให้เราหงุดหงิด นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีสมาธิ มีภาวะปวดศีรษะ เป็นไมเกรน หรืออาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

วิธีการเพิ่มฮอร์โมนเซโรโทนิน คือ ออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมน และเลือกรับประทานอาหารที่มีเซโรโทนินสูง เช่น กล้วย วอลนัท ผักโขม เนื้อเป็ด

2. เมลาโทนิน (Melatonin) ถูกสร้างขึ้นโดยต่อมใต้สมองที่มีชื่อว่า ไพเนียล แกรนด์ (Pineal Gland) เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นในช่วงเวลากลางคืนและจะหยุดสร้างในช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้น เมลาโทนินถือเป็นฮอร์โมนตัวหนึ่งที่ส่งผลในเรื่องของการนอนหลับ หากฮอร์โมนหลั่งออกมา นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเราควรจะนอนได้แล้ว เพราะฮอร์โมนตัวนี้จะส่งผลทำให้เรารู้สึกอ่อนเพลีย อุณหภูมิในร่างกายจะลดลงนั่นเอง

วิธีการเพิ่มฮอร์โมนเมลาโทนิน เนื่องจากเป็นฮอร์โมนเพื่อการนอนหลับที่ดี ดังนั้นความมืดจะกระตุ้นทำให้สมองหลั่งฮอร์โมนออกมา แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์ต่างๆ มีผลทำให้หลั่งฮอร์โมนได้น้อย ทั้งนี้เราสามารถกินอาหารเสริมเมลาโทนินเพื่อช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนกินทุกครั้ง หากกินเยอะเกินไปอาจจะให้คุณมากกว่าโทษนั่นเอง

3. คอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนแห่งความเครียดที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไต ถือเป็นสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดโดยตรง ดังนั้นยิ่งเรามีความเครียดร่างกายจะกระตุ้นการตอบสนองของเซลล์ในร่างกายต่อภาวะการอักเสบ ความเจ็บปวด ภาวะติดเชื้อ และกระตุ้นให้ตับสร้างน้ำตาลมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย กินเยอะ และน้ำหนักอาจจะขึ้นง่าย

วิธีการเพิ่มฮอร์โมนคอร์ติซอล คือ พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากคอร์ติซอลจะสูงขึ้นในช่วงเช้า และจะค่อยๆ ลดลงในช่วงบ่ายๆ หากเรานอนหลับพักผ่อนเพียงพอแล้ว คอร์ติซอลก็จะทำงานตามปกติ แต่ถ้าเรานอนดึกหรือไม่ยอมนอน คอร์ติซอลจะทำงานผิดปกติและอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย รู้สึกไม่สดชื่น และอาจเกิดภาวะนอนไม่หลับได้



ใครควรตรวจเช็กระดับฮอร์โมน?
โดยปกติ ระดับสมดุลฮอร์โมนจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อายุประมาณ 25 ปีขึ้นไป และเมื่อความสมดุลของฮอร์โมนเสียไป อาจก่อให้เกิดภาวะ หรืออาการผิดปกติบางอย่างได้ ดังนั้นการตรวจวัดระดับฮอร์โมน สามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ได้แก่
 
  • บุคคลที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสมลพิษจากสิ่งแวดล้อม
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร พร่องวิตามิน
  • ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมพักผ่อนน้อย นอนดึก หรือมีปัญหาการนอน นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท

ฮอร์โมนในร่างกายของเรา คือสารธรรมชาติที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง เมื่อเรารู้แล้วว่า ระดับฮอร์โมนในร่างกายของเราอยู่ในระดับใด เราก็สามารถกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนและรักษาสมดุลของฮอร์โมนได้ด้วยการปรับพฤติกรรมตัวเราเอง ซึ่งจะสามารถทำให้เรากลับมามีฮอร์โมนที่เป็นปกติ และสุขภาพการนอนของเราก็จะดีขึ้น

สนใจ แพ็กเกจตรวจสุขภาพ คลิก!
-->