นอนกระตุกแบบนี้ หรือว่าจะมีอาการทางสมองกันแน่นะ



เคยมั้ยที่กำลังนอนเพลินๆ แต่ต้องสะดุ้งตื่นเพราะฝันว่าตกจากที่สูง ทั้งที่ก็นอนอยู่เฉยๆ บนเตียง แถมยังกระตุกไปทั้งร่าง จนคนข้างๆ ตกใจ เพราะคิดว่าผีเข้าไปอีก ซึ่งองค์กร National Sleep Foundation ได้ทำการวิจัยพบว่ามีผู้ที่เคยเกิดภาวะดังกล่าวหรือที่เรียกว่า Hypnic jerk เป็นอาการปกติที่มักเกิดขึ้นในช่วงที่นอนหลับสนิทก็ตาม แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการแฝงของโรคเส้นเลือดในสมองตีบด้วย แล้วแบบนี้ควรจะต้องกังวลหรือเปล่านะ?



Hypnic Jerk อาการธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
Hypnic Jerk เป็นอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเองขณะหลับ มักเกิดร่วมกับความรู้สึกคล้ายตกจากที่สูง โดยบางคนอาจมีการกระตุกรุนแรงถึงขั้นฟาดแขน ฟาดขา หรืออาจจะกระตุกทั้งตัว ทำให้มีผลต่อการนอนหลับได้ ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดจากสาเหตุที่เมื่อร่างกายกำลังเข้าสู่ช่วงหลับลึก กล้ามเนื้อมีการคลายตัว ระบบการหายใจเริ่มทำงานช้าลง จนทำให้สมองเกิดความสับสนคิดว่าร่างกายกำลังอ่อนแรง ทำ จึงสั่งการให้กลไกของร่างกายทำการป้องกันตัว คือทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวและกระตุกอย่างรวดเร็ว ซึ่งถึงแม้ว่าอาการนี้จะไม่ถือเป็นความผิดปกติ หรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย นอกจากกระทบกับการนอนหลับพักผ่อนเท่านั้น แต่ในเวลาเดียวกันอาการกระตุกดังกล่าวนี้ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ รวมถึงโรคร้ายอื่นๆ อย่าง โรคไต และโรคเบาหวานได้ด้วยเหมือนกัน

หลอดเลือดสมองตีบ โรคที่อาจทำร้ายคุณได้แบบไม่รู้ตัว
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เกิดได้จากลิ่มเลือดบริเวณอื่นที่ไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง ทำให้มีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อขณะนอนหลับได้ โดยจะร่วมกับอาการอื่นๆ ได้แก่

    • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
    • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
    • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
    • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด  
    • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

ซึ่งอาการเหล่านี้จะแสดงออกมามากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย



หากว่าคุณมีอาการนอนกระตุกบ่อยๆ แล้วล่ะก็ให้ลองทำวิธีต่อไปนี้แล้วดูว่าอาการที่เป็นอยู่ลดน้อยลงมั้ย
หากว่าใช่! ก็ไม่น่ามีอะไรที่ต้องกังวล


► ขยับเวลาออกกำลังกายไม่ให้ใกล้กับเวลานอน เพราะการออกกำลังกายก่อนนอนจะยิ่งกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว
► ลดปริมาณคาเฟอีน โดยเฉพาะในช่วงบ่ายไปจนถึงก่อนนอนควรหลฃีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
► งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มชูกำลัง
► เว้นระยะห่างจากโซเชี่ยลก่อนเข้านอนอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้สมองและร่างกายได้เตรียมตัวสำหรับการนอนหลับพักผ่อน
► ทำกิจกรรมเบา ๆ สร้างความผ่อนคลายก่อนนอน ไม่ว่าจะเป็นอ่านหนังสือ สวดมนต์ หรือนั่งสมาธิได้ก็ยิ่งดี
► สำรวจยาที่ใช้อยู่เป็นประจำ หากไม่แน่ใจว่าจะเป็นผลข้างเคียงจากยาหรือไม่ ให้ปรึกษาแพทย์



 
-->