ท้องเสียเพราะดื่มนม กับภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติ
เมื่อก้าวเท้าเข้าเลข 4 หลายๆ เรื่องในชีวิตก็ไม่ง่ายเหมือนก่อน ขนาดแค่ “นม” ที่ดื่มมาตั้งแต่เด็ก อยู่ๆ ก็เกิดจะดื่มไม่ได้ เพราะเป็นเหตุให้ท้องเสีย ทั้งที่ยังไม่หมดอายุ หรือจะว่าเป็นเพราะอย่างอื่นที่กินไปก็ไม่น่าใช่ คิดๆ ไปก็มีแต่นมนี่แหล่ะที่ แต่ครั้นจะตัดใจเลิกกินก็ดันมีงานวิจัยจาก The Prospective Urban Rural Epidemiology (PURE) บอกว่าการดื่มนม หรือรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวันละ 2 มื้อ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ ได้มากกว่า เอ๊ะ! หรือว่าต้องปล่อยให้ท้อง...เสีย กันนะ
“ท้องเสีย” อาจไม่ได้แพ้นม
ดื่มนมปุ๊บต้องวิ่งหาห้องน้ำปั๊บอาการนี้ ยังมีหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าแพ้นมวัว (Cow Milk Allergy) ทั้งที่จริงๆ แล้วเกิดจากการแพ้แลคโตสที่อยู่ในนมมากกว่า โดยทั้งสองอาการนี้มีความแตกต่างกันคือ คนที่แพ้แลคโตสมักมีอาการไม่รุนแรง คือแค่ทำให้รู้สึกไม่สบายท้องหลังดื่มนมหรือได้รับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งเป็นภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่อง เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในผลิตภัณฑ์นม ทำให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง และท้องเสียหลังดื่มนมหรือร่างกายได้รับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งถ้าสังเกตอาการอาการและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของแลคโตส ก็จะช่วยป้องกันการเกิดอาการดังกล่าวได้
อาการนี้ นี่แหล่ะแพ้แลคโตส
อย่างที่บอกไปแล้วว่าการแพ้แลคโตสกับการแพ้นมวัวนั้นแตกต่างกัน ซึ่งการแพ้นมวัวเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อโปรตีนที่พบในนมวัว ทำให้เกิดอาการแพ้ คืออาจมีผื่นแดง คัน ใบหน้าบวม ปวดท้อง อาเจียน คัดจมูก หายใจมีเสียงครืดคราดหลังดื่มนม อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) ได้ ส่วนคนที่มีอาการแพ้แลคโตส มักเกิดขึ้นหลังดื่มนมหรือกินผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง มีอาการท้องอืดจากแก๊ส ปวดท้องบริเวณสะดือหรือท้องน้อย ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และบางรายอาจมีอาการท้องผูกร่วมด้วย ซึ่งความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่ร่างกายได้รับและความสามารถในการย่อยแลคโตสของแต่ละคน
อยู่ๆ ก็มีเรื่องราวให้...แพ้แลคโตส (ได้ไง?)
เหตุที่อยู่ดีๆ ก็มีอาการท้องเสียหลังดื่มนม หรืออยู่ๆ ก็แพ้แลคโตสขึ้นมาทั้งที่ก่อนหน้าไม่เคยเป็น นั่นเพราะอาการนี้จะพบได้มากในวัยผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายย่อยน้ำตาลแลคโตสที่พบในนมทั่วไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร การหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมจะช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดท้องและท้องอืดได้ โดยค่อย ๆ ปรับลดปริมาณและสังเกตอาการ อีกทั้งยังควรทดแทนด้วยอาหารอื่นที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน
คนที่แพ้ (แลคโตส) ก็ต้องดูแลตัวเอง...แบบนี้
ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่องนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่สามารถดีขึ้นได้ด้วยการสังเกตอาการ หลีกเลี่ยงนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม รวมถึงปรับพฤติกรรมการกิน ดังนี้
“ท้องเสีย” อาจไม่ได้แพ้นม
ดื่มนมปุ๊บต้องวิ่งหาห้องน้ำปั๊บอาการนี้ ยังมีหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าแพ้นมวัว (Cow Milk Allergy) ทั้งที่จริงๆ แล้วเกิดจากการแพ้แลคโตสที่อยู่ในนมมากกว่า โดยทั้งสองอาการนี้มีความแตกต่างกันคือ คนที่แพ้แลคโตสมักมีอาการไม่รุนแรง คือแค่ทำให้รู้สึกไม่สบายท้องหลังดื่มนมหรือได้รับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งเป็นภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่อง เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในผลิตภัณฑ์นม ทำให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง และท้องเสียหลังดื่มนมหรือร่างกายได้รับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งถ้าสังเกตอาการอาการและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของแลคโตส ก็จะช่วยป้องกันการเกิดอาการดังกล่าวได้
อาการนี้ นี่แหล่ะแพ้แลคโตส
อย่างที่บอกไปแล้วว่าการแพ้แลคโตสกับการแพ้นมวัวนั้นแตกต่างกัน ซึ่งการแพ้นมวัวเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อโปรตีนที่พบในนมวัว ทำให้เกิดอาการแพ้ คืออาจมีผื่นแดง คัน ใบหน้าบวม ปวดท้อง อาเจียน คัดจมูก หายใจมีเสียงครืดคราดหลังดื่มนม อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) ได้ ส่วนคนที่มีอาการแพ้แลคโตส มักเกิดขึ้นหลังดื่มนมหรือกินผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง มีอาการท้องอืดจากแก๊ส ปวดท้องบริเวณสะดือหรือท้องน้อย ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และบางรายอาจมีอาการท้องผูกร่วมด้วย ซึ่งความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่ร่างกายได้รับและความสามารถในการย่อยแลคโตสของแต่ละคน
อยู่ๆ ก็มีเรื่องราวให้...แพ้แลคโตส (ได้ไง?)
เหตุที่อยู่ดีๆ ก็มีอาการท้องเสียหลังดื่มนม หรืออยู่ๆ ก็แพ้แลคโตสขึ้นมาทั้งที่ก่อนหน้าไม่เคยเป็น นั่นเพราะอาการนี้จะพบได้มากในวัยผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายย่อยน้ำตาลแลคโตสที่พบในนมทั่วไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร การหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมจะช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดท้องและท้องอืดได้ โดยค่อย ๆ ปรับลดปริมาณและสังเกตอาการ อีกทั้งยังควรทดแทนด้วยอาหารอื่นที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน
คนที่แพ้ (แลคโตส) ก็ต้องดูแลตัวเอง...แบบนี้
ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่องนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่สามารถดีขึ้นได้ด้วยการสังเกตอาการ หลีกเลี่ยงนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม รวมถึงปรับพฤติกรรมการกิน ดังนี้
- บางรายที่มีอาการแพ้ไม่รุนแรงสามารถดื่มนมหรือเลือกกินผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมได้บ้าง โดยเริ่มจากทีละน้อยก่อนจะค่อยๆ เพิ่ม และคอยสังเกตอาการไปด้วย
- ดื่มนมปราศจากแลคโตส (Lactose Free) ซึ่งเป็นนมที่ผ่านกระบวนการเติมเอนไซม์แลคเทส เพื่อให้เอนไซม์ช่วยย่อยสลายน้ำตาลแลคโตสในนมแทน
- ดื่มนมที่ทำจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ และนมข้าวโอ๊ต แทนนมวัว หากยังมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
- กินอาหารเสริมเอนไซม์แลคเทสสังเคราะห์ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- ทดแทนการขาดสารอาหารด้วยอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง เช่น ปลาทะเล ไข่แดง ตับ เต้าหู้ และผักใบเขียว