กินอาหารค้างคืน ความเสี่ยงที่มาพร้อมความน่ากลัว

สายกิน สายช้อปของกิน สั่งแบบถล่มทลาย ต้องระวัง! บางทีเราก็ซื้อมาเยอะเกินไป กินไม่หมดก็ต้องแช่ตู้เย็นเก็บไว้ พรุ่งนี้ค่อยมากินใหม่ แต่! หลายคนรู้หรือไม่ การกินอาหารค้างคืนบ่อยๆ อาจมีผลเสียที่คุณอาจทำให้คุณอ้าปากค้างได้เลยทีเดียว



#กินอาหารค้างคืนบ่อยๆ เสี่ยงมากนะบอกก่อน
สายแช่ต้องระวัง! เพราะการสะสมการกินอาหารค้างคืนที่กินไม่หมด อาจส่งผลเสียกับร่างกายของเราได้ มากไปกว่านั้น คือโรคร้ายที่อาจตามมา อาหารที่เก็บไว้นานหรืออุ่นซ้ำบ่อยๆ อาจหมดอายุได้ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงทำให้เราเกิดอาการปวดท้อง อาการท้องเสีย หรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นอาเจียนได้ นอกจากนี้ต้องระวังอาหารประเภทต้ม ตุ๋น หรือการนำอาหารมาอุ่นใหม่เป็นระยะเวลามากกว่า 4 ชั่วโมง ซึ่งอาจทำให้คุณค่าของอาหารลดลงไป โดยอาหารพวกนี้มีข้อมูลการตรวจพบสารกลุ่มเฮ็ตเตอโรไซคลิกเอมีน (heterocyclic amine)  ซึ่งอาจเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้อีกด้วย

#คุณค่าทางโภชนาการที่หายไป…แบคทีเรียตัวร้ายมาทดแทน
โดยปกติการกินอาหารค้างคืนจะทำให้คุณภาพของอาหารนั้นลดลงไป นั่นหมายความว่า หากอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่เราซื้อมาแล้วกินไม่หมด กินเหลือ หรือเก็บมาอุ่นกินใหม่ในมื้อถัดไป ก็อาจจะทำให้อาหารชนิดนั้นๆ ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมือนเดิมแล้ว อีกหนึ่งความเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ เชื้อแบคทีเรียในอาหาร ซึ่งมักพบในเชื้อแบคทีเรียชนิด สแต็ฟไฟ โลค๊อกคัส (Staphyllococcus) เป็นแบคทีเรียชนิดกลม พบบ่อยในอาหารประเภทสลัด ขนมจีน ราดหน้า ซุปต่างๆ เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะมีอาการ  อาเจียน  อุจจาระร่วง  และปวดท้อง เลิกกินอาหารค้างแล้วกินอาหารที่ปรุงสุกกันดีกว่า เพราะอร่อยกว่า รสชาติไม่ผิดเพี้ยนและได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่ดีเยี่ยม



#เคล็ดลับการกินแบบใหม่ เสริมสร้างสุขภาพดีได้ไม่ยาก
เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความสุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เราก็ควรจะหาวิธีการแบบใหม่ เพื่อที่จะลดความเสี่ยงให้น้อยลงไปจนถึงขั้นให้ไม่เสี่ยงเลย ซึ่งจะเป็นผลดีกับสุขภาพของเรา ดังนั้นลองมาดูกันว่า เราจะทำอย่างไรดีให้การกินอาหารนั้นเกิดประโยชน์กับร่างกายอย่างสูงที่สุด
  • ควรกินอาหารปรุงสุก ทำใหม่ หากเราต้องทำอาหารทานเองก็ควรกะปริมาณให้เหมาะสมกับมื้ออาหาร การซื้ออาหารมารับประทานเองก็ให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อจะได้ไม่ต้องเก็บอาหารค้างคืนไว้ในตู้เย็น
  • ทานผักเคียงคู่กับอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี เช่น ผักสลัด ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม ซึ่งมีไฟเบอร์สูง กากใยในผักกาดแก้วช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี ไฟเบอร์ในผักกาดหอมช่วยส่งเสริมระบบการย่อยอาหาร และป้องกันโรคทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น
  • ทานผลไม้หลังมื้ออาหารก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ โดยผลไม้ช่วยเพิ่มวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ หากไม่กินเป็นผลไม้สด เปลี่ยนเป็นแนวน้ำผลไม้แยกกาก น้ำผลไม้ปั่น ก็สามารถทานควบคู่กันได้

#การถนอมอาหารแบบสุดปัง
เราจะช่วยทุกคนแก้ไขปัญหานี้เอง หากหลายคนไม่สะดวก อาจจะต้องรับประทานอาหารค้างคืนในบางโอกาส เราจึงขอแนะนำวิธีการเก็บอาหารให้ดีเยี่ยม
  • กล่องเก็บอาหารที่มีคุณภาพ ช่วยให้รักษาคุณภาพของอาหารได้เป็นอย่างดี ขนาดและผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้จะต้องทนต่อความร้อนและความเย็นที่เหมาะสมกับการเก็บรักษาอาหารของเรา
  • การแยกส่วนผสมต่างๆ อย่างเหมาะสม อาหารบางอย่างมีวัตถุดิบที่หลากหลาย ดังนั้นเราควรเก็บให้เหมาะสม เพื่อให้ได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้อาหารสดใหม่ และไม่เสี่ยงที่จะนำออกมารับประทานในมื้อต่อไป
  • การใช้ช้อนกลางสำหรับอาหารประเภทต้ม ตุ๋น แกงต่างๆ ซึ่งจะทำให้อาหารที่อยู่ในภาชนะไม่ปนเปื้อนกับอาหารอื่นๆ 
  • การแยกภาชนะของอาหารหรือตักแบ่งออกมาทาน เราอาจจะทำแกงหม้อใหญ่ ซึ่งอาจจะเหลือไว้รับประทานมื้อถัดไป ซึ่งแกงในหม้อเราควรนำมาอุ่นรอบสุดท้าย รอให้เย็นแล้วนำเข้าไปแช่ในตู้เย็น เท่านี้ก็ทำให้อาหารสดใหม่ ไม่เสี่ยงที่อาหารจะเสียจนไม่สามารถนำกลับมารับประทานในมื้อต่อไปได้

เพื่อสุขภาพที่ดีเราควรเลี่ยงการกินอาหารค้างคืนเพื่อลดความเสี่ยงได้ กินอาหารปรุงสุกอร่อยกว่าเยอะ เพื่อสุขภาพที่ดีเราทำได้…ไม่ยากเลยใช่มั้ยละ
-->