กระดูกสันหลังคด จุดเริ่มต้นของโรค “หมอนรองกระดูกเสื่อม”

มีอยู่จริง “คนที่ (ชอบ) ปวดหลัง ทั้งที่อายุยังไม่เท่าไหร่” ทำให้จะลุกนั่งแต่ละทีต้องมีเสียงร้องโอดโอยตามมา จนคนรอบข้างชักจะสงสัยแล้วว่าโกงอายุมาหรือเปล่า แต่พอได้รู้ที่มาของอาการปวดหลังว่าอาจเป็นกระดูกสันหลังคด จนทำให้ “หมอนรองกระดูกเสื่อม” ซึ่งหากว่าการทำท่าแพลงก์ ตามที่งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ Global Advances in Health and Medicine โดยทีมนักวิจัยจากวิทยาลัยการแพทย์และศัลยกรรมมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์กให้ข้อมูลไว้ว่า การทำท่า Side Plank เป็นประจำ จะช่วยลดอาการกระดูกสันหลังคดได้ จะยังไม่เห็นผลลัพธ์ทันตา อย่างนั้นคงต้องมองหาตัวช่วยอื่นไว้บ้าง



กระดูกสันหลังคด ส่งผลให้หมอนรองกระดูกเสื่อม...ได้ยังไง
หมอนรองกระดูกเสื่อม คือการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกหรือชั้นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างข้อกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ซึ่งหมอนรองกระดูกนี้มีหน้าที่ลดแรงกระแทกและกระจายแรงของน้ำหนักตัวที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลัง ช่วยให้สามารถเคลื่อนไหวในท่าทางต่างๆ ได้ ซึ่งโดยปกติกระดูกสันหลังจะเสื่อมได้จากการใช้งาน และอายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ทำให้บางคนอาจมีอาการเริ่มต้นของความเสื่อม เช่น อาการปวดคอ หรือปวดหลังส่วนเอว ยิ่งหากว่าเป็นผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังคดด้วยแล้ว จะมีปัญหากระดูกจะเสื่อมได้ง่ายได้กว่าคนทั่วไป เพราะว่าการบิดหมุนที่ผิดปกติของกระดูกสันหลัง ทำให้การกระจายน้ำหนักเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้นจะเกิดความไม่สมดุลเท่าที่ควร หากความไม่สมดุลนี้เกิดต่อเนื่องยาวนาน ประกอบกับระบบกล้ามเนื้อที่จะช่วยแบกรับน้ำหนักร่างกายไม่แข็งแรงเท่าที่ควร จะทำให้เกิดความเสื่อมของแนวกระดูกสันหลังได้ง่ายขึ้น



เช็คให้ดีมีกระดูกสันหลัง “คด” หรือเปล่า
บางครั้งเราอาจไม่รู้ตัวหรอกว่ามีภาวะกระดูกสันหลังคด ต้องรอให้มีอาการปวดขึ้นมาแล้วนั่นแหละถึงได้รู้ แต่ถ้ามีการตรวจประเมินโครงสร้างกระดูก Orthoscanogram นั่นก็อีกเรื่อง เพราะวิธีการนี้จะเป็นการ x-ray ตั้งแต่กระดูกสันหลังช่วงคอจนถึงก้นกบ และเชิงกรานจนถึงข้อเท้า ซึ่งจะเห็นโครงสร้างกระดูกของเราแบบ 2 มิติ โดยสัดส่วนที่เหมือนจริงไม่มีการบิดเบือนของภาพ ซึ่งการ x-ray แบบนี้จะสามารถวัดมุมและความสั้นยาวได้แม่นยำมากกว่าแบบดั้งเดิม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้รู้ถึงระดับความรุนแรงของกระดูกสันหลังคดแล้ว ยังบอกได้ถึงระดับความเสื่อมของ ข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า ว่าอยู่ในเกณฑ์รุนแรงมากแค่ไหน รวมถึงช่วยให้รู้ว่าภาวะขาสั้นยาวไม่เท่ากันที่ตรวจพบ ว่ามีสาเหตุมาจากความผิดปกติของอวัยวะใดในร่างกาย เพื่อที่จะประเมินแนวทางในการวางแผนและติดตามการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด รวมไปถึงข้อเสื่อมได้

แบบนี้ “กระดูกสันหลังคด” ก็ไม่ต้องจบที่ “หมอนรองกระดูกเสื่อม”  แล้วสิ (เย้!)

สนใจ แพ็กเกจตรวจสุขภาพ คลิก!
-->