เราจะมีวิธียังไงให้เหล่าพ่อแม่เลิกแชร์และเชื่อ Fake News กันสักที
วันก่อนค่ะ แม่เดินมาบอกว่า “รู้แล้วนะว่าทำยังไงให้ขนแปรงสีฟันที่บานแล้วกลับมาตรงแหน่วใช้ต่อได้ ในไลน์เค้าบอกให้เอาไปจุ่มน้ำเดือด แม่ลองแล้ว ตรงจริงๆ ด้วย” โอ้มายก๊อดด เรานี่มึนตึ้บ เมื่อไหร่จะเลิกเชื่อ Life Hack ปลอมๆ ที่อันตรายแถมทำร้ายสุขภาพแทนที่จะเวิร์คจริงกันซักที!
ก่อนหน้านั้นก็คือ ห้ามกินเห็ดเข็มทองเพราะมีพิษอันตรายถึงชีวิต กินถั่วลิสงทุกวัน วันละ 1 กำมือช่วยลดอาการวัยทองได้ และถ้ามีอาการปัสสาวะไม่ออก ให้กระโดดพร้อมกับยกมือ แล้วบางวันก็นั่งเงยหน้าแล้วหายใจพะงาบทางปากเหมือนปลาเพราะในไลน์บอกว่าช่วยป้องกันอัลไซเมอร์ได้ ไปจนถึงว่า ไมโครเวฟคือห้ามใช้ เพราะมีรังสีที่อันตรายยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา...ถอนหายใจหนึ่งที
แต่ไม่ใช่แค่แม่เราหรือแม่เธอ เพราะ Senior ทั่วโลกก็เป็น
มีสถิติที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ในอเมริกาบอกว่า “11 เปอร์เซ็นต์ของ Facebook User วัย 65 ปีขึ้นไปมักจะกดแชร์ข่าวปลอม ในขณะที่มีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของ User ช่วงอายุ 18 – 29 ที่ทำเช่นนั้น แถม Facebook User วัย 65 อัพยังแชร์เฟคนิวส์มากกว่าคนช่วงอายุ 45 – 65 มากถึง 2 เท่า และมากกว่าวัยรุ่นช่วง 18 – 29 ถึง 7 เท่า
ต้องเข้าใจก่อนว่า เพราะอะไรพวกเขาถึงแชร์
มีอยู่ 2 ข้อสันนิษฐานที่ตอบได้ว่าเพราะอะไรผู้สูงวัยถึงมีพฤติกรรมการแชร์ข่าวปลอมมากขึ้น และยิ่งมากขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อยิ่งอายุมาก หนึ่งคือพวกเขาเข้าเพิ่งสู่ยุคดิจิตอลมาไม่นานนี้ ความไม่คุ้นชินกับคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ทำให้เขาแยกแยะได้ยากว่าอันไหนจริงสิ่งไหนปลอม และอีกเหตุผลทางด้านจิตวิทยาคือ เมื่อเราอายุมากขึ้น ความเข้าใจ ความรู้และการตัดสินใจในด้านสังคมมักจะถดถอยลงเป็นเรื่องธรรมดา และถ้าให้มองชัดๆ เลยก็มีอีกหลายเหตุผลมาก เช่น พวกเขาอยู่บ้านเฉยๆ และเหงา ไม่มีอะไรทำ จึงใช้เวลาอยู่กับโซเชียลมีเดียมากกว่าวัยรุ่นซะอีก โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาต้องการคุยกับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน การแชร์หรือส่งต่อข่าวอะไรก็ตามที่ได้รับมา จึงเป็นความบันเทิงหลักๆ ที่ทำให้เขาเอ็นจอยกับชีวิตได้ในแต่ละวัน
แชร์ไม่หยุด ฉุดไม่อยู่อย่างนี้ ทำยังไงกันดี?
ใครกำลังนอยด์ว่ายิ่งนับวัน พวกเขาจะเชื่อเฟคนิวส์ กดส่งต่อให้เพื่อน หรือยิ่งแย่ไปกว่านั้น คือทำตามคำแนะนำที่ไม่ใช่ความจริง แถมอันตรายต่อสุขภาพร่างกายไปกันใหญ่ เรามีวิธีแก้ให้คุณลองเอาไปทำตาม...
Credit: Anti Fake News Center
#กดไลค์เพจศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
หยิบมือถือพวกเขามาแล้วกดไลค์เพจ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ของกระทรวงดิจิตัล เพจที่จะตามรวบรวมข่าวปลอม ข่าวมั่วต่างๆ มาฟันธงให้ว่าอะไรคือ ข่าวจริง ข่าวปลอม เพราะแทนที่เราจะนั่งพูดปากเปียกปากแฉะว่า ไม่จริ๊งงงง ก็ให้เขาเช็คเอาได้เลยจากรัฐมนตีว่าการกระทรวงดิจิตัล https://www.facebook.com/AntiFakeNewsCenter/
The Cool Kids : Amezon Prime
#เปลี่ยนให้พวกเขาไปติดซีรี่ย์แทน
โหลดแอพดูหนัง Netflix, HBO Go, Disney+ Hot Star แล้วกด Add Playlist หนังหรือซีรี่ยส์ดีๆ ที่คิดว่าพวกเขาต้องชอบ การเปลี่ยนจากดูหน้าจอมือถือทั้งวันมาดูหนังหรือซีรี่ย์ ยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจุดประกายในใจให้กับผู้สูงวัย และลดโอกาสที่พวกเขาจะเป็นโรคซึมเศร้าจากการติดมือถือทั้งวันได้อีกด้วย เรามี หนังดีๆ สำหรับผู้สูงวัย มาแนะนำ
#สอนเทคนิคแยกข่าวปลอม
อันนี้อาจต้องใช้เวลาให้พวกเขาฝึกวิธีสังเกตและแยกข่าวจริงกับข่าวปลอมให้เป็น วิธีสังเกตตามนี้เลย
- ข่าวปลอมมักจะใช้ข้อความพาดหัวใหญ่ๆ เครื่องหมายตกใจหรือเครื่องหมายคำถาม ทำให้ดูตื่นเต้น
- มองหาวันที่ ช่วงเวลาและแหล่งที่มา ถ้าไม่มีวันที่ นั่นแปลว่าอาจเป็นข่าวเก่าที่ถูกก๊อปปี้ส่งต่อๆ กันมา
- ดูที่ลิงค์ URL ว่าใช่เว็บไซต์สำนักข่าวที่น่าเชื่อถือหรือเปล่า
- ถ้ารูปประกอบกับเรื่องดูไม่เกี่ยวข้องกัน ชัวร์แล้วว่าเฟคนิวส์
- ข่าวปลอมจำนวนมากมักมีการสะกดผิด หรือวางรูปแบบเลย์เอ้าท์ที่ไม่ปกติ
#Join Group สูงวัยกับคอนเทนต์สร้างสรรค์
ลองเข้าไปรีวิวดูเพจที่พวกเขาตามเป็นระยะๆ กด Block เพจไหนที่ดูสุ่มเสี่ยงในการฟีดเฟคนิวส์หรือหลอกลวงขายของแบบมิจฉาชีพ แล้วเลือกกด Follow หรือ Join Group เพจสร้างสรรค์ที่ทำมาเพื่อผู้สูงวันโดยเฉพาะ อย่าง...
Youtube: มนุษย์ต่างวัย
มนุษย์ต่างวัย – ให้เหล่าผู้สูงวัยได้อินสไปร์ลุกขึ้นมาทำอะไรสนุกๆ กัน
YoungHappy - รวมกิจกรรมและคอนเทนต์ดีๆ สำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ
คุณยายแกะกล่อง – ดูคุณยายปราณี มารีวิวของใช้
ไชโย โอป้า - ใครจำคุณป้าได้บ้าง เธอคืออาจารย์สุชาดี มณีวงศ์ แห่งกระจกหกด้านไง
ตายายสอนหลาน - เรียนภาษาใต้กับยายเสริมและตาแก้ว
Youtube: krajokhokdan