เมื่ออายุเพิ่มขึ้น จะเป็นคนแก่ยังไง…..ให้ไม่แก่

อายุมากขึ้น เราก็เริ่มจะแพนิคว่าจะเกิดปัญหาสุขภาพอะไรกับเราหรือเปล่า จะว่าไปมันก็พอจะมีวิธีที่จะทำให้เราเป็นชาวสูงวัยยังไงให้สุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและจิตใจ



เป็นชาวสูงวัยยังไงไม่ให้ (แก่)
ก็ใช่ว่าเป็นชาวสูงวัยแล้วจะใช้ชีวิตแบบวัยรุ่นไม่ได้ และต่อให้เป็นชาวสูงวัยก็สุขภาพแข็งแรงได้เช่นกัน ถ้าคิดอย่างนั้นแล้ว สิ่งแรกที่เราอยากให้ชาวสูงวัยทุกคนได้ตระหนักคือ ปัญหาสุขภาพ ของตัวเอง คำตอบนี้สามารถตอบได้ด้วยการให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพ ด้วยช่วงอายุและช่วงวัยที่มีความเสี่ยงสูง การได้รู้ถึงปัญหาสุขภาพ หรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับเรา เป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ มีชาวสูงวัยหลายคนกังวลถึงผลการตรวจสุขภาพ เลยทำให้ไม่กล้าตรวจสุขภาพ ชาวสูงวัยหลายๆ คนเลยกลัวการไปโรงพยาบาล จนทำให้ลูกหลานต้องบังคับและหลอกล่อด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นหนึ่งในข้อดีของการตรวจสุขภาพ คือการรู้เท่าทันปัญหาสุขภาพของตนเอง ถ้าหากเราพบความผิดปกติจะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที คิดในแง่ดี ถ้าเรารู้ว่าตัวเองเสี่ยง จะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราใหม่ คราวนี้อยากจะทำอะไรก็สามารถทำได้ ไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาสุขภาพตามมาทีหลัง
.
อีกหนึ่งสิ่งที่เราอยากให้ทุกคนรอบตัวของชาวสูงวัยได้ตระหนักและให้ความสำคัญคือ สุขภาพจิต มีข้อมูลที่น่าสนใจของกรมสุขภาพจิต ปี 2566 ระบุว่า คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตมากถึง 10% จากประชากรทั้งหมด และมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่ไม่เข้ารับการรักษา เราจะเห็นว่า สิ่งที่เราไม่รู้ คือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการรักษา ซึ่งผู้คนเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งภาวะความเครียด ความกดดัน และภาวะอื่นๆ ดังนั้นเราอยากให้ทุกคนมองว่า ปัญหาสุขภาพจิตก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กับปัญหาสุขภาพทางกาย เพราะเมื่อไหร่ที่ชาวสูงวัยกำลังเผชิญกับปัญหานี้ นานๆ เข้าก็อาจจะทำให้สุขภาพกายไม่ดีตามไปด้วย ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งต้องใส่ใจให้มากขึ้นเช่นกัน

แชร์เทคนิคจัดการความ (ดื้อ) ของชาวสูงวัยให้อยู่หมัด
เชื่อเลยว่ามีหลายบ้านต้องเผชิญกับปัญหาความดื้อของชาวสูงวัย เผลอๆ อาจจะดื้อกว่าลูกหลานเสียอีก ดังนั้นหากเรารู้สึกว่าชาวสูงวัยที่บ้านของเราเริ่มมีอาการดื้อ ไม่ยอมไปหาหมอ ไม่ยอมทานยา ไม่ยอมทานข้าว เราอาจจะต้องงัดเอาไม้เด็ดมาจัดการ และนี่คือวิธีที่เราคิดว่าจะจัดการปัญหานี้ได้อยู่หมัด
 
  • ให้ความสำคัญ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ชาวสูงวัยหายดื้อได้ บางครั้งเขาอาจจะดื้อเพื่อที่จะเรียกร้องความสนใจอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นหากชาวสูงวัยรู้สึกว่าตัวเองยังมีความสำคัญกับทุกคนในครอบครัว อาจทำให้อาการดื้อนั้นหายไป
  • ยอมตามใจ เชื่อเลยว่าทุกบ้านจะต้องเจอเหตุการณ์นี้อยู่ก็เป็นแน่ การมอบสิทธิพิเศษให้กับชาวสูงวัย เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ และอาจจะทำให้ชาวสูงวัยนั้นใจอ่อนได้ เช่น ถ้าเกิดไปหาหมอจะยอมตามใจ แม้ว่าวิธีนี้จะเวิร์ก แต่ไม่ควรทำบ่อย เพราะชาวสูงวัยก็มีนิสัยที่ไม่ต่างกับเด็ก ที่เมื่อตามใจบ่อยๆ แล้ว ก็จะได้ใจ ครั้งถัดๆ ไปถ้าหากจะใช้วิธีนี้ก็อาจจะไม่ได้ผลก็ได้
  • พูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา มีหลายๆ บ้านเกิดความขัดแย้ง เพราะชาวสูงวัยอาจจะดื้อมากๆ ดังนั้นการจับเข่าคุยกันเป็นอีกหนึ่งทางออกที่เราอยากให้ทุกคนได้ทำ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเจรจา คือความใจเย็น ใช้เหตุและผลในการพูดคุย ไม่ควรใช้อารมณ์เพราะอาจจะทำให้เรื่องนั้นบานปลายขึ้นได้ เราขอแนะนำให้พูดด้วยความเป็นห่วง
  • พาไปเปิดหูเปิดตา ด้วยช่วงวัย อยู่แต่บ้านก็เป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ดังนั้นการพาไปเที่ยว ไหว้พระ ทำบุญ กินของอร่อยๆ หรืออาจจะพาไปหาเพื่อนที่อาจจะไม่ได้เจอกันมานานก็สามารถทำได้เหมือนกัน ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชาวสูงวัยนั้นหายดื้อ และยอมทำตามที่เราขอได้
  • กิจกรรมสร้างเสริมความสัมพันธ์ ในเมื่อดื้อเพราะคิดว่าทุกคนไม่สนใจ ก็บังคับให้เข้าร่วมด้วยกันซะเลย การหากิจกรรมมาทำร่วมกัน ก็ช่วยให้จัดการปัญหาความดื้อได้เหมือนกัน นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความรักและความสามัคคีให้กับทุกคนในบ้านอีกด้วย

สุดท้ายนี้ไม่ว่าจะชาวสูงวัยเอง หรือลูกหลานในบ้านก็สามารถทำให้ชาวสูงวัยของเรา เป็นคนแก่ ที่ไม่แก่ได้ สุขภาพดีได้ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เป็นเรา เพราะการมีสุขภาพที่ดี ทำให้เรามีโอกาสทำอะไรหลายๆ อย่างได้ด้วยความสบายใจของตัวเราเอง

สนใจ แพ็กเกจตรวจสุขภาพ คลิก!
-->