“แกก็ชิลเกิ๊น” เมื่อ Chill Guy ในที่ทำงาน กลายเป็นภาระให้ทีมปวดหัวทุกวัน
ในโลกของการทำงานมันก็มีคนหลากหลายรูปแบบอ่ะเนอะ บ้างก็จริงจังกับงาน บ้างก็ปล่อยจอยจนดูเหมือนไม่ทำอะไร จนกลายเป็นมีม Chill guy ซึ่งคนพวกนี้แหละที่บางที่คนทำงานอยู่ฝ่ายเดียวเห็นแล้วก็ท้อใจ อยากจะชิลได้แบบนั้นบ้าง แต่เธอเอ้ย… แล้วเมื่อไหร่งานจะเสร็จล่ะพ่อ!
ทำไมเป็นคนชิลๆ กลับทำลายอาชีพเราได้
เป็นคนชิลๆ ที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงคนชิลๆ แบบ Productive ที่สบายๆ ไม่ค่อยอะไร แต่ยังทำงานจนสำเร็จได้ดี แถมไม่มีปัญหาอะไร แต่หมายถึง คนที่ชิลแบบไม่ทำอะไรเลย มอบงานให้ก็อิดออดไม่อยากทำ หรือรับมาแล้วทำช้าบ้าง ไม่ทันกำหนดส่งงานบ้าง ใครเสนอไอเดียอะไรก็หืออือ เออออตามเขาหมด หรือหนักสุดกลายเป็นภาระของเพื่อนร่วมทีมที่ต้องทำงานแทนอีก กลายเป็น KPI ภาพรวมของทีมตกลงเพราะคนคนเดียว ในขณะที่คนอื่นทำงานแทบตายเพื่อไม่ให้ทีมล้มไปกว่านี้ เกิดเป็นปัญหาหลัก 4 อย่าง ดังนี้
1. ปริมาณงานที่ได้ออกมาลดลง คุณภาพดรอป
พนักงานที่มีพฤติกรรมผ่อนคลายมากเกินไป อาจทำให้ได้ผลงานออกมาไม่ทันตามกำหนด หรือออกมาทันแต่ไม่ครบ คุณภาพงานตกต่ำมากอาจทำเหมือนลวกๆ ด้วยซ้ำ เนื่องจากไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายละเอียดและการวิเคราะห์ก่อนทำงาน รวมถึงใครเสนอไอเดียอะไรมาก็ทำหมด แม้ไอเดียนั้นจะไม่เข้ากับชิ้นงานที่ทำอยู่ก็ตาม ทำให้การประเมินผลงานในแต่ละรอบถูกประเมินไว้ว่าไม่มีประสิทธิภาพ ยิ่งถ้าทำงานในองค์กรที่เป็น Agency ด้วยแล้วยิ่งลำบากมาก เพราะเป็นองค์กรที่ต้องอาศัยความฉับไว เร่งรีบ คิดเร็วถึงจะอยู่รอดได้ หากมี Chill guy อยู่เยอะเกินไปจะไม่ส่งผลดีโดยรวมต่อองค์กรแน่ๆ2. เพิ่มภาระให้ทีม
ต่อจากข้อแรก พองานที่ทำไม่ได้คุณภาพ หรือรายละเอียดไม่ครบ คนที่รับหน้าจากเจ้านายหรือลูกค้าก่อนก็คือหัวหน้าหรือเพื่อนที่มีตำแหน่งเป็นผู้ประสานงาน กลายเป็นผลกระทบย้อนกลับที่ทำให้ทีมต้องมาตามแก้งาน หรือทำงานซ้ำซ้อนจากคนเหล่านี้ เพิ่มภาระงานให้คนอื่นๆ ในทีมทั้งที่ไม่ใช่งานของตัวเอง กลายเป็นงานที่ได้กลับต้องล่าช้าออกไปอีก3. เกิดความขัดแย้งในทีม
ทีมที่ทำงานกันรักใคร่กลมเกลียวนับเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากสำหรับองค์กร เพราะจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งทีมก็พังลงมาได้เพราะคนเพียงคนเดียวเช่นกัน เนื่องจากคนในทีมอาจรู้สึกสูญเสียกำลังใจในการทำงาน รู้สึกไม่เป็นธรรมที่ต้องมาแบกรับงานของคนอื่นเพิ่ม ในระยะยาวส่งผลให้สูญเสียแรงจูงใจในการทำงาน เพราะรู้สึกว่าความพยายามของตัวเองไม่สำคัญ หรือหนักสุด คนที่ต้องรับภาระเยอะๆ เข้าก็อาจระเบิดออกมา กลายเป็นการทะเลาะกันภายในทีมจนมองหน้ากันไม่ติด ร่วมงานกันก็ไม่ได้ ประสิทธิภาพการทำงานของทีมลดต่ำฮวบ จนท้ายที่สุด คนทำงานจริงอาจต้องลาออก กลายเป็นอัตราการลาออก (Turnover rate) พุ่งสูงขึ้นแต่ก็ใช่ว่าความเป็น Chill guy จะดูแย่ไปซะทุกเรื่อง เพราะในความเป็นจริงแล้ว Chill guy เหล่านี้ให้ความสำคัญกับความสุขของคนอื่นมาก่อนเสมอ เลยมีลักษณะเป็นคนเออออ ยังไงก็ได้กับทุกเรื่อง แม้เรื่องนั้นจะไม่ค่อยเข้าท่าก็ตาม และทีนี้ถึงคำถามสำคัญ เราจะมีวิธีแก้ปัญหาพ่อหนุ่ม แม่สาวสายชิลนี้ยังไงได้บ้าง?
วิธีรับมือกับเพื่อนร่วมงานสาย Chill Guy
1. ตั้งเป้าหมายองค์กรและตัวบุคคลให้ชัดเจน
การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่ระดับผู้บริหารและองค์กรลงมาช่วยให้พนักงานเข้าใจว่า “อ๋อ บริษัทเรากำลังไปในทิศทางนี้นะ” ทำให้พนักงานรับรู้ความคาดหวังและหน้าที่ที่องค์กรมีต่อเขา ลดความสับสน เริ่มจากกำหนดเป้าหมายเป็นชิ้นเป็นอันที่สามารถวัดได้ให้เข้าทำคนเดียว คนอื่นอย่าเข้าไปยุ่ง เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกับคนในทีม โดยมีทั้งกรอบเวลาและคุณภาพงานเป็นตัวกำหนด และติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ2. ต้องสื่อสารอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา
ไม่มีอะไรดีไปกว่านั่งจับเข่าคุยกัน การพูดคุยกันตรงๆ จะช่วยลดความสับสน เข้าใจโครงสร้างองค์กรชัดเจน ทำให้เขาได้พูดคุยหรือได้แสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น เพิ่มการมีส่วนร่วมและลดพฤติกรรมเอื่อยเฉื่อย3. เพิ่มรางวัลหรือแรงจูงใจ
บางคนเอื่อยเฉื่อยเพราะการทำงานยังไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดีพอ จึงต้องนำเสนอรางวัลหรือของเย้ายวนที่เหมาะสมกับคนคนนั้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกระตือรือร้นในการทำงาน เช่น โบนัส วันลาพักร้อน หรือการเลื่อนขั้นโดยอิงจากการประเมินประสิทธิภาพการทำงานทั้งของตัวเองและทีมแต่ย้ำด้วยว่าถ้าเสนอรางวัลหรืออะไรให้ตอบแทนแล้ว ผู้รับปากต้องทำได้จริง เพราะหากไม่ทำตามที่ขอ พนักงานก็จะสูญเสียความไว้ใจ คราวหน้าข้อเสนอนี้อาจไม่ได้ผลอีก
4. การจัดอบรมให้พนักงานพัฒนาตัวเอง
การจัดอบรมแม้จะน่าเบื่อ แต่ก็ช่วยให้พนักงานมองเห็นคุณค่าในตัวเองได้จากความสามารถใหม่ๆ ที่เขาเรียนรู้มา และได้เป็นตัวตั้งตัวตีหลักขององค์กรได้อีกด้วย5. สร้างบรรยากาศภายในทีมให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
Scenario แบบหนึ่งที่มักเจอในคนชิลๆ คือ ชอบเออออไปตามเพื่อนร่วมงาน ใครเสนออะไรก็เห็นชอบ นานวันเข้าก็ไม่มีใครอยากถามหรือฟังความเห็นจากคนคนนี้อีก เพราะก็มักตอบอะไรเดิมๆ ออกมาอยู่ดี ฉะนั้นคนในทีมก็ต้องเปลี่ยนจากปล่อยผ่านคนนั้นไปเป็นถามจี้กลับเขาตรงๆ เลยว่า งานชิ้นนี้ ส่วนนี้อยากได้ความเห็นจากเขา เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากความเห็นของคนอื่น ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมให้คนแบบนี้เห็นคุณค่าตัวเองการทำงานกับเหล่า Chill guy นานวันเข้าก็อาจทำทีมพังได้ ทั้งงานช้า งานไม่ละเอียด หรืองานไม่ครบถ้วนก็พาลทำคนอื่นเดือดร้อน ต้องพึ่งให้คนอื่นมาช่วยกันซะเยอะ แต่ถ้าเรามีการสื่อสารที่ดีและตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ทุกอย่างก็จะง่ายขึ้นนะ! อย่าลืมว่า "ร่วมมือกัน" คือทางออกที่จะทำให้ทีมเราไปได้ไกล!