เป็นกันมั้ย? ช่วงใกล้สิ้นปี เช้าๆ แบบนี้ไม่อยากลุกจากเตียงไปทำงาน
ใครเป็นเหมือนกันบ้าง? รู้สึกว่าการตื่นนอนแล้วต้องลุกออกจากเตียงไปทำงาน มันยากเย็นซะเหลือเกิน ยิ่งใกล้สิ้นปี จะหยุดยาว อากาศครึ้มๆ หนาวๆ ยิ่งรู้สึกว่าอยากจะนอนขดอยู่ในผ้าห่มไม่อยากจะลืมตาถึงแม้จะใกล้วันหยุดได้ไปเที่ยวแต่ก็ยังไม่อยากจะลุกไปทำงานจริงๆ แล้วบรรยากาศตามฤดูกาลก็สามารถส่งผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ ให้ไม่เฟรชเหมือนเดิม หรือ ที่เราเรียกว่า “Seasonal Affective Disorder โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล” ที่อาจส่งผลให้บางคนมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน ทั้งอาการนอนไม่หลับ Insomnia หรือรวมไปถึงการนอนหลับมากเกินไป Hypersomnia ก็ส่งผลเสียที่แตกต่างกันไป เช่น สมองเฉื่อยชา สมองล้า ไร้ชีวิตชีวา
ซึ่งบางคนก็ฮีล หรือรีเฟรชตัวเองได้ โดยการทำกิจกรรมอื่นๆ ออกไปเจอแสงแดด ออกกำลังกาย หรือทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลร่างกายและพยายามพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อที่จะพร้อมเริ่มวันใหม่ในทุกๆ วัน แต่กับบางคนก็ถึงขั้นต้องใช้ยาพบแพทย์เพื่อแก้ปัญหากันเลยทีเดียว
สังคมคนในเมือง ช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเร่งรีบกลายเป็นบรรทัดฐาน
อาจจะไม่ใช่แค่ช่วงสิ้นปีที่ชาวออฟฟิศอย่างเราๆ รู้สึกไม่อยากตื่นไปทำงาน แต่ในทุกๆ วันการตื่นไปทำงานในช่วงเวลาที่เร่งรีบทำให้เรารู้สึกเหนื่อยตั้งแต่เริ่มวัน โอลิเวีย เวอร์ฮูลสต์ นักบำบัด LMHC ในนิวยอร์กซิตี้ กล่าวไว้ว่า จริงๆ แล้วเช้าวันใหม่ที่ไม่เร่งรีบจะทำให้คุณมีสมาธิกับปัจจุบันและโฟกัสมากขึ้นว่าคุณอยากให้วันดีๆ ของคุณเป็นอย่างไร พร้อมไปลุยงานแบบแฮปปี้ ทุกเช้าวันใหม่จะคอยเตือนให้คุณหยุดพักและให้ความสำคัญกับสุขภาพของคุณ “ตัวอย่างของ slow morning เช่น การขอเวลาอยู่คนเดียว ทบทวนตัวเอง เคลื่อนไหวร่างกาย ยืดเส้นยืดสาย ออกกำลังกาย หรือทำสมาธิ”
ทำยังไงดี? อยากรู้สึกแฮปปี้กับการตื่นนอน ปีนี้ลองค่อยๆ เริ่มปรับ Mindset และ Routine
จากงานวิจัยพบว่าสามชั่วโมงแรกของวันนั้นเป็นช่วงเวลาที่คุณจะมีสมาธิมากที่สุด อย่าปล่อยให้การเร่งรีบแบบเดิมๆ ทำให้การลุกออกจากเตียงแย่ลง หลายๆ คนมักติดอยู่ในกิจวัตรที่ต้องฝืนลากตัวเองไปทำงาน แค่นั้น… แค่รู้สึกว่าต้องตื่นแล้วรีบเร่งออกไปทำงาน แม้กระทั่งอาหารเช้ายังลืม หรือไม่ได้นึกถึงเลยด้วยซ้ำ แต่ถ้าเราลองสร้าง Routine ว่าวันๆ นึง นอกจากแค่ต้องฝืนลากตัวเองไปทำงานแล้ว มีอะไรให้เราทำอีกบ้าง ก็อาจจะเป็นมุมมองในการตื่นนอนตอนเช้าที่แตกต่างไป
Slow morning เทรนด์ง่ายๆ ที่เริ่มจากตัวเรา
1. Start slow: ลองค่อยๆ ลุกนั่งขึ้นมาก่อน ให้เวลาตัวเองสักพักตั้งสติ อย่าเพิ่งเช็คอีเมลงานให้รู้สึก Overwhelmed จนรู้สึกต้องเริ่มต้นวันเครียดๆ
2. What’s for breakfast?: เริ่มนึกถึง Goal ว่าเช้านี้จะกินอะไรดี คิดถึงอาหารหรือกาแฟแก้วแรกของวันเป็นแรงจูงใจที่ดีได้ ถ้าท้องเริ่มร้องจากการที่บังคับตัวเองให้คิดถึงอาหารที่อยากกิน ก็จะมีแนวโน้มที่อยากจะลุกขึ้นไปหาอะไรดีๆ กินให้แฮปปี้
3. Don’t disregard the classics: การตั้งนาฬิกาปลุก ความคลาสสิคที่เลี่ยงไม่ได้ ลองตั้งนาฬิกาปลุกในระยะที่เราต้องลุกขึ้นเพื่อไปกดปิด เพื่อเป็นการกระตุ้นว่า ยอมตื่นก็ได้ในเมื่อก็ลุกจากเตียงแล้ว
4: Focus on what’s around you: ลองเขียนขอบคุณตัวเองในตอนกลางคืน เพื่อตื่นมาแล้วอ่านสิ่งนั้นซ้ำ เตือนตัวเองในสิ่งดีๆ ค่อยๆ พร้อมเริ่มต้นวันดีๆ หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง ที่เป็นแรงจูงใจให้เราตื่นนอนในตอนเช้า และการเล่นกับสัตว์เลี้ยงสุดคิ้วท์ของเรา ยังช่วยส่งผลให้อารมณ์ดีด้วย แค่นี้ก็มีแรงตื่นไปทำงานแล้ว
5: Get yourself motivated with routine: บางครั้งอย่าเร่งรีบให้ลุกออกจากเตียง จนความสุขตอนเช้าหายไป อาจจะลองใช้เวลาเล่นโทรศัพท์สัก 10-15 นาที เพื่อให้อารมณ์ดีก่อนที่จะลุกจากที่นอน
.
นอกเหนือจากการที่ปรับ routine ให้พร้อมไปทำงานตอนเช้าอย่างสดชื่นแล้ว ดร. เจนนิเฟอร์ เชน นักจิตวิทยาจาก Thrive for the People บอกไว้ว่า “การใช้ชีวิตอย่างช้าๆ ในตอนเช้าก็ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้”
.
ลองหายใจเข้าลึกๆ ลองให้เวลาตัวเองชิลบนเตียงขึ้นสักนิด ไม่ต้องกดดันตัวเองแค่ว่าต้องเร่งรีบตื่นไปทำงาน แค่หาความสุขโฟกัสตัวเองกับสิ่งที่ตัวเองจะทำง่ายๆ ก็อาจจะช่วยให้วันนี้เป็นวันที่ดีแฮปปี้พร้อมไปทำงานได้