“Emotional Eating” กินตามอารมณ์ ส่งผลอะไรบ้าง?

เครียด เศร้า ตัวจบคืออาหาร? เป็นกันบ้างไหม ถ้าวันนึงรู้สึกไม่สบายใจ เราจะเลือกของกินเพื่อฮีลใจ ซึ่งนั่นก็คือ Emotional eating เรากินเพื่อตอบสนองอารมณ์ของเรา ไม่ใช่เรื่องที่แปลก ที่อาหารจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น เพราะร่างกายต้องการอาหารเพื่อการอยู่รอด 



ตามใจตัวเองมากไปในการกิน เพื่อตอบสนองทางอารมณ์ เครียดแล้วก็ต้องกินตลอด มันอาจกลายเป็นปัญหาได้เช่นเดียวกัน 

การกิน ตอบโจทย์ปัญหาทางอารมณ์ได้จริงหรอ?
เมื่อการกินเพื่อความอารมณ์เกิดขึ้นบ่อย ๆ และไม่มีวิธีอื่นในการจัดการกับอารมณ์ มันอาจกลายเป็นปัญหา การกินอาจเป็นเหมือนการแก้ปัญหาแต่ช่วยได้แค่ช่วงเวลานั้น แต่มันไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความเครียด กังวล เบื่อ เหงา หรือเศร้า ได้อย่างแท้จริง 

บางทีการเลือกอาหารเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ สำหรับบางคน อาจทำให้เค้ารู้สึกผิดมากขึ้นไปอีก ยิ่งเครียดยิ่งกิน จนกลายเป็นยิ่งเครียดมากกว่าเดิม ซึ่งอาจทำให้การจัดการปัญหาพวกนี้ยากขึ้นกว่าเดิม

ปัจจัยหลักๆ มีอะไรบ้าง
  • ปัญหาทางอารมณ์ อย่างเช่นเครียดงาน กังวลเรื่องเงิน ปัญหาสุขภาพ ปัญหาชีวิตคู่ หรือแม้กระทั่งสถานการณ์ที่ต้องเจอ เช่น นักเรียนช่วงใกล้สอบมักมีแนวโน้มจัดการความเครียดด้วยการกิน 
  • การจำกัดหรือควบคุมอาหารก็สามารถส่งผลเช่นเดียวกัน คนที่หมกมุ่นควบคุมอาหาร มักเสี่ยงต่อการทานอาหารด้วยอารมณ์ เช่น ใช้ความคิดมาก ทำให้ทานอาหารเยอะขึ้น 
  • ภาวะโรคอ้วน (Obesity) ทฤษฎี Psychosomatic (Bruch, 1973) เสนอว่าความเชื่อมโยงระหว่างภาวะอ้วนและการรับประทานอาหารเกิดจากการเรียนรู้ของบุคคลผ่านการจัดการอารมณ์ทางลบ เด็กอายุตำกว่า 9 ปีมักมีอารมณ์มาเกี่ยวโยงกับการทานอาหารมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ 
  • เชื้อชาติและครอบครัว จากการศึกษาสามารถเห็นได้ว่าอย่างประเทศจีนมักใช้อาหารเป็นการแสดงออกของความรัก ความห่วงใย ทำให้การกินอาหารอาจเป็นเรื่องฮีลใจของพวกเขาเช่นเดียวกัน หรือแม้กระทั่งลูกสามารถเลียนแบบพ่อแม่ วัยรุ่นบางคนอาจเสี่ยงเลือกกินอาหารด้วยอารมณ์มากกว่าวัยรุ่นที่มีความสัมพันธ์ดีกับพ่อแม่



เราจะรู้ได้ยังไง ว่าเรากำลังเป็น “emotional eater” ถ้าคุณเป็นคุณอาจมีความรู้สึกเหล่านี้ เช่น
  • ขาดการควบคุมเมื่ออยู่ใกล้อาหารบางประเภท
  • มีความอยากกิน เมื่อรู้สึกมีอารมณ์รุนแรง
  • มีความรู้สึกอยากกิน แม้ไม่ได้รู้สึกหิว
  • มีความรู้สึกว่าการกินคือรางวัล ทำให้แฮปปี้ ใจเย็นลง 

หยุดคิด แล้วค่อยกิน ก่อนผลเสียจะตามมา
การกินอาหารตามอารมณ์หรือความเครียดนั้นสร้างปัญหาให้กับระบบเมตาบอลิซึม ทำให้เผาผลาญได้น้อยลง แคลอรี่ที่เกินมาก็อาจกลายเป็นไขมันต่างๆ ลงที่พุง แขน ขา และอาจส่งผลให้เกิดโรคตามมา เช่น ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคอันตรายร้ายแรง

อย่าปล่อยให้สภาพอารมณ์กลายเป็นตัวควบคุมการกิน ที่ไม่ได้หิวแต่กินเพราะเครียด เพราะ emotional eating อาจช่วยให้รู้สึกดีในแค่ช่วงแรก แต่ถ้าเรากินแบบไม่ลืมหูลืมตา มันอาจกลายเป็นความรู้สึกผิดตามมาทีหลังได้  ลองมองหาทางคลายเครียดในระยะยาว เช่น ถ้าเหงาลองโทรหาเพื่อน คุยกับใครสักคน หรือถ้าเบื่อลองมองหากิจกรรมคลายเบื่อ พวกนี้อาจช่วยส่งผลดีในระยะยาว ดีกว่าเลือกการกินแทนการแก้ปัญหา แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะแฮปปี้กับการกินของอร่อยไม่ได้ แต่ต้องเลือกกินเพื่อสุขภาพกายด้วย
-->