‘ง่วงนอนทั้งวัน’ แบบนี้…เสี่ยงเป็น Hypersomnia หรือเปล่า?

นอนเยอะขนาดนี้…ไม่ทราบว่าจะตื่นตอนไหน หลายคนคงชอบการนอนเหมือนกับเรา เพราะวันหยุดทีไรก็อยู่บนเตียงทั้งวัน แต่รู้มั้ยว่า…การนอนที่บอกว่าพักผ่อน ถ้ามากเกินไปมันก็ไม่ดีต่อสุขภาพได้เหมือนกัน งั้นมาดูกันดีกว่าว่าที่ว่าไม่ดีน่ะ ไม่ดียังไง?


 
มารู้จัก Hypersomnia กันก่อน
โรคนอนเกิน หรือ Hypersomnia คือ โรคที่หลับเกินพอดี นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ นอนหลับนานเกิน 8 ชั่วโมง แล้วยังรู้สึกอยากนอนต่อ ซึ่งทำให้ร่างกายแสดงความผิดปกติในการพักผ่อนแตกต่างกับคนอื่นอย่างชัดเจน ส่งผลทำให้การทำงานของร่างกายมีความผิดปกติ โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกายภาพหรือทางใจ จึงมีความจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากปล่อยไว้จะไม่ดีต่อสุขภาพในระยะยาวและส่งผลเสียต่อการทำงานในร่างกายของเรา

Check List! พฤติกรรมเสี่ยง
เราอาจเคยเห็นคนที่งีบหลับระหว่างการทำบางสิ่งบางอย่างอยู่ เช่น ระหว่างพูดคุย หรือกินข้าวบนโต๊ะอาหาร รอคิวซื้อของ หรือแม้กระทั่งบางคนมีความรู้สึกง่วงตลอดเวลา อยากจะนอนทั้งวัน รู้สึกว่านอนไม่พอหรืองีบบ่อยๆ ในระหว่างวัน เวลาตื่นนอนแล้วง่วง รู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม ซึ่งกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เงินเดือนอย่างการประชุม การเข้าอบรม สัมมนาต่างๆ ก็จะพบเจอบ่อยๆ ในที่ทำงานของเรา ดังนั้นลองสังเกตตัวเองว่าเรามีพฤติกรรมอย่างที่บอกมาอยู่หรือเปล่า
 
ผลเสียที่อาจตามมา...เมื่อนอนมากเกินไป
การนอนเยอะอาจจะติดเป็นนิสัยของเรา จนเราละเลยและส่งผลเสียต่อร่างกายแบบไม่รู้ตัว นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือพฤติกรรมการนอนที่มากเกินไปนี้อาจส่งผลถึงร่างกายของเราได้ เช่น
 
  • ภาวะหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน หรือโรคใหลตาย
  • การทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อ ลดประสิทธิภาพลง
  • เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดัน
  • สมองจะทำงานช้าลงเพราะนอนมากเกินไป มีความเชื่องช้า คิดช้ากว่าปกติ
  • มีบุตรยาก เพราะฮอร์โมนเพศหญิงจะเป็นปกติ เมื่อมีการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ
  • กลายเป็นคนซึมเศร้า เพราะการนอนมากๆ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน


 
แก้ปัญญายังไง? หากเราอยากกลับมานอนได้อย่างปกติสุข
 
  • ปรับตารางการนอนให้เร็วขึ้น เพื่อให้ร่างกายพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ เช่น การเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม และพยายามเข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อสร้างระเบียบวินัยในการนอน
  • ลดการนอนในระหว่างวัน ไม่ว่าจะเป็น การงีบหลับ หรือการนอนกลางวัน เพราะอาจทำให้เรานอนไม่หลับ หรืออาจจะต้องรอดึกๆ เราถึงจะนอนได้
  • ในกรณีนอนไม่หลับ หรือหลับยาก ไม่แนะนำให้ซื้อยานอนหลับมาทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
  • ออกกำลังกาย เป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ทำให้เราสุขภาพร่างกายแข็งแรง สร้างออกซิเจนในเลือดให้มากขึ้น และสารเทสโทสเตอโรนยังเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
  • ก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง ควรงดอาหารหนักๆ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่กระทบกับการพักผ่อน
  • จัดห้องนอนให้ปลอดโปร่ง เพราะหากห้องโล่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก จะส่งผลเรื่องการหลับนอนได้ดียิ่งขึ้นและสามารถนอนหลับสนิท ซึ่งจะทำให้เราไม่ง่วงนอนในช่วงเวลากลางวัน
 
เห็นแบบนี้สายขี้เซาต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนใหม่แล้วล่ะ เพื่อสุขภาพของเรา…เราทำได้ไม่ยากเลย
-->