เซฟตี้ต้องมาก่อน ...มารีเช็ก 'เจลล้างมือและแอลกอฮอล์' ที่ใช้อยู่กันเถอะ


ต้องขอบอกกันตรงๆ ว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ Fake Information ในการอ้างว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สามารถใช้ฆ่าเชื้อ covid-19 นั้นมีเพิ่มมากขึ้น แลแน้วโน้มที่เรามองเห็นคือ ข้อมูลแบบนี้ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  อย่างต่อเนื่อง การกรองข้อมูลข่าวสารให้ละเอียดจึงสำคัญมาก! เพราะมันคือกุญแจล๊อคป้องกันตัวคุณให้รอดพ้นความเสี่ยงจากเหล่ามิจฉาชีพได้ 

อย่างล่าสุด! เราก็รู้มาว่าทางรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ คุณ น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ ได้ออกมาเล่าถึงกรณีมีคนซื้อแอลกอฮอล์ปลอมมาแล้วได้รับความเสียหาย สิ่งที่ทำให้เรากังวลหนักเลยคือ...แอลกอฮอล์ปลอมที่ผู้ร้องเรียนใช้นั้น มีอันตรายถึงขั้น "เสียชีวิต" คราวนี้คุณจะรู้ได้ยังไงล่ะ...ว่าสิ่งที่กำลังใช้กันอยู่อย่างเจลล้างมือหรือแอลกอฮอล์นั้น "ปลอดภัย" จริง!

...ก่อนคิดกันไปไกล เราขออธิบายก่อน คือถ้าคุณไปซื้อที่ร้านขายยาหรือสั่งจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ ก็อย่าเป็นกังวล แต่สำหรับคนที่สั่งซื้อมาจากเว็บออนไลน์ทั่วไปนี่ล่ะเราขอให้คุณ ระวังตัวมากขึ้น!  
 

 และแอลกอฮอล์ที่เรากำลังพูดถึงอยู่จะรวมไปถึงแอลกอฮอล์ที่เป็นเจลล้างมือและน้ำยาแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ นะ

SAFETY#1 ทำความเข้าใจกันก่อน แอลกอฮอล์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ทำมาจากอะไร?
 ข้อมูลจากคุณ พนิดา แซ่จิว ประธานกรรมการ บริษัท บีที เฮอเบิล จำกัด บอกไว้ว่า ถ้าพูดถึงแอลกอฮอล์ที่ทำเป็นแบบ Hand sanitizer หรือเจลแอลกอฮอล์ล้างมือนั้น ปกติจะทำมาจาก "เอทานอล" หรือ "เอทิลแอลกอฮอล์" มันก็คือแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่มาจากการหมักของพืช ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนัง เพราะว่าก่อนผลิตจะต้องถูกทำให้เจือจางอยู่แล้ว...นอกจากนี้เราก็ค้นพบว่า มันได้ถูกเอามาทำแอลกอฮอล์ล้างแผล หรือแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำความสะอาดพื้นผิวอีกด้วย 

สรุป! จะรู้ได้ยังไงล่ะว่า แอลกอฮอล์ที่ใช้อยู่นั้น "ปลอดภัยและเป็นของจริง" 
การที่จะรู้ว่าเป็นของจริงหรือเปล่านั้น
 ? เราก็มีวิธีทดลองง่ายๆ มาบอกต่อ นั่นก็คือ 1.เทแอลกอฮอล์ลงในภาชนะและต่อด้วยการนำไปตั้งไฟ 2.หลังจากนั้นใช้ปรอทวัดจุดเดือดเพื่อเช็กอุณหภูมิ 3. สังเกตจุดเดือด หากอยู่ที่ 78 องศาเซลเซียส แปลว่าแอลกอฮอล์ที่คุณใช้นั้น "เป็นของจริง" แต่ถ้าเป็น "ของปลอม"จุดเดือดจะอยู่ที่ 65 องศ่าเซลเซียสนั่นเอง

woman in black shirt holding white plastic bottle
Photo Credit: Kelly Sikkema on unsplash

=>  และอีกวิธีการสังเกตขั้นพื้นฐานเลยก็คือ "การดมกลิ่นจากการพัดมือไปมา" ถ้ามีกลิ่นฉุนจนแสบจมูกมาจากระยะไกลโดยไม่ต้องพัดมือไปมาแล้วล่ะก็ ให้พิจารณาไว้ก่อนว่า "ของปลอมแน่นอน" เลี่ยงการสูดดมในระยะใกล้ทันทีเพราะอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ หลังจากนั้นก็ค่อยลองทำตามการทดลองที่เล่าไปก่อนหน้าเพื่อเมคชัวร์อีกครั้ง

SAFETY#2  มาดู Checklist อาการไม่พึงประสงค์ที่มาจาก "FAKE แอลกอฮอล์" กันเถอะ
แอลกอฮอล์ปลอมจะมีการใช้ส่วนผสมของสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งนั่นก็คือ เมทิลแอลกอฮอล์ ของเหลวที่ระเหยง่าย  เป็นที่นิยมใช้ในวงการอุตสาหรกรรมเฟอร์นิเจอร์ อย่างสีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา และยาลอกสี เมื่อถูกทาลงผิวหนังของเรา วัตถุ หรือพื้นผิวต่างๆ ก็จะสงกลิ่นไปทั่ว ทำให้เกิดการสูดดม ระบบหายใจคุณก็จะมีปัญหา เช่น  รู้สึกระคายเคืองจนหลอดลมอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ และหากสูดดมเข้าไปมาก  ร่างกายจะตอบสนองด้วยอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก  บางคนถึงขั้นมองเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดและตาบอด กรณีที่ดื่มเข้าไป ร่างกายจะดูดซึมเข้าสูกระแสเลือดทำให้มีผลต่อประสาทตา ไตอักเสบ กล้ามเนื้อตับตายและโลหิตเป็นพิษซึ่งเป็นเหตุให้เสียชีวิตนั่นเอง

  เป็นยังไงกันบ้าง? อ่านมาถึงตรงนี้กันแล้ว เราก็ขอให้อย่าลืมนำไปเช็กกันด้วย และขอให้ทุกคนระมัดระวังกันมากขึ้น อ่านข้อมูลผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้แน่ใจ หรือสอบถามเภสัชกรร้านยาใกล้บ้าน (กรณีที่เดินทางไป-กลับไม่ลำบาก) หรือจะเช็คข้อมูลตัวยาและผลิตภัณฑ์ผ่านทางเว็บไซต์ของทาง อย. www.fda.moph.go.th ไปเลยจะดีที่สุด อ้อ! เมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์แล้ว ก็ใอย่าลืมกดเลือกหัวข้อ “ตรวจสอบผลิตภัณฑ์” กันด้วย  ถ้าเกิดเจอผลิตภัณฑ์ที่น่าสงสัย แจ้งเบาะแสไปที่สายด่วน อย.1556 ได้เล้ย!
 
-->