ส่องวัคซีน COVID-19 ฉบับไทยแลนด์ 101 ที่ต้องรู้!
สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ดูทีท่าจะเข้มข้นขึ้นทุกวัน ยิ่งในสายพันธุ์อังกฤษที่กำลังระบาดอยู่นี้ คงสร้างความกังวลให้กับหลายๆ คนอยู่ไม่น้อย นอกจากการดูแลตัวเองตามแนวทาง New Normal แล้ว การฉีดวัคซีนป้องกันโรคคงเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ แต่สถานการณ์วัคซีนในไทยก็สุดจะสับสนวุ่นวาย จนงงไปหมดว่า ยี่ห้อไหนเป็นอะไรกันแน่ ตกลงฉีดแล้วดีไม่ดี มาๆ วันนี้เรามาสรุปให้ฟังง่ายๆ ให้เข้าใจกัน
วัคซีนป้องกันโรค COVID-19 คืออะไร?
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งขณะนี้แบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามเทคนิคที่ใช้ในการผลิตวัคซีน คือ
1. วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Virus Vaccine) ผลิตโดยการใช้ไวรัสที่ถูกทำให้ตายแล้ว ซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างปลอดภัย และถูกใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตวัคซีนหลายชนิด
2. วัคซีน DNA หรือ mRNA ซึ่งเป็นแนวทางการผลิตวัคซีนในรูปแบบใหม่ที่ทำได้ง่าย และรวดเร็ว โดยการใช้สารพันธุกรรมของไวรัส มากระตุ้นให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่ช่วยป้องกันโรค
3. วัคซีนตัดต่อทางพันธุกรรม (Viral vector vaccines) โดยการนำสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด เข้าไปในสารพันธุกรรมของไวรัส Adenovirus ที่อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิดขึ้น
ตอนนี้วัคซีน COVID-19 ที่จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยมีกี่ชนิด?
วัคซีนที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยแล้ว มี 2 ชนิด ประกอบด้วย วัคซีน “CoronaVac” ของบริษัท Sinovac (จีน), วัคซีน “AZD 1222” ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า – ออกซ์ฟอร์ด (สหราชอาณาจักร) และล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติวัคซีน “Ad26.COV2.S” ของบริษัท Johnson & Johnson แล้ว เป็นชนิดที่ 3 ที่ต่อคิวนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย
ส่วนวัคซีน “โทซินาเมแรน” (Tozinameran) ของบริษัท Pfizer-BioNTech (สหรัฐอเมริกา) / วัคซีน “โควิชิลด์” (Covishield) จากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย / วัคซีน mRNA-1273 ของบริษัท Moderna (สหรัฐอเมริกา) และวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” (Sinopharm) จาก สถาบันยาชีววัตถุปักกิ่ง อยู่ระหว่างการพิจารณาขึ้นทะเบียนกับ อย.
วัคซีน COVID-19 ชนิดไหน เหมาะกับใคร?
+ ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถฉีดได้ทุกชนิด โดยแนะนำให้เลือกฉีดเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น
+ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดวัคซีน “AZD 1222” ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เนื่องจากมีการศึกษาที่รายงานถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในกลุ่มผู้สูงอายุ
+ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีและหญิงตั้งครรภ์ ยังไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน เนื่องจากผลการศึกษาถึงความปลอดภัยและผลข้างเคียงยังไม่ชัดเจน
ต้องฉีดกี่เข็ม ถึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด?
#วัคซีน “CoronaVac” ของบริษัท Sinovac : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์
#วัคซีน “AZD 1222” ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า – ออกซ์ฟอร์ด : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์
#วัคซีน “Ad26.COV2.S” ของบริษัท Johnson & Johnson : ฉีด 1 เข็ม
#วัคซีน “โทซินาเมแรน” (Tozinameran) ของบริษัท Pfizer-BioNTech : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์
#วัคซีน “โควิชิลด์” (Covishield) จากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์
#วัคซีน mRNA-1273 ของบริษัท Moderna : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์
#วัคซีน “ซิโนฟาร์ม” (Sinopharm) จาก สถาบันยาชีววัตถุปักกิ่ง : ยังไม่มีการระบุ
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งขณะนี้แบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามเทคนิคที่ใช้ในการผลิตวัคซีน คือ
1. วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Virus Vaccine) ผลิตโดยการใช้ไวรัสที่ถูกทำให้ตายแล้ว ซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างปลอดภัย และถูกใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตวัคซีนหลายชนิด
2. วัคซีน DNA หรือ mRNA ซึ่งเป็นแนวทางการผลิตวัคซีนในรูปแบบใหม่ที่ทำได้ง่าย และรวดเร็ว โดยการใช้สารพันธุกรรมของไวรัส มากระตุ้นให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่ช่วยป้องกันโรค
3. วัคซีนตัดต่อทางพันธุกรรม (Viral vector vaccines) โดยการนำสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด เข้าไปในสารพันธุกรรมของไวรัส Adenovirus ที่อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิดขึ้น
ตอนนี้วัคซีน COVID-19 ที่จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยมีกี่ชนิด?
วัคซีนที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยแล้ว มี 2 ชนิด ประกอบด้วย วัคซีน “CoronaVac” ของบริษัท Sinovac (จีน), วัคซีน “AZD 1222” ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า – ออกซ์ฟอร์ด (สหราชอาณาจักร) และล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติวัคซีน “Ad26.COV2.S” ของบริษัท Johnson & Johnson แล้ว เป็นชนิดที่ 3 ที่ต่อคิวนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย
ส่วนวัคซีน “โทซินาเมแรน” (Tozinameran) ของบริษัท Pfizer-BioNTech (สหรัฐอเมริกา) / วัคซีน “โควิชิลด์” (Covishield) จากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย / วัคซีน mRNA-1273 ของบริษัท Moderna (สหรัฐอเมริกา) และวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” (Sinopharm) จาก สถาบันยาชีววัตถุปักกิ่ง อยู่ระหว่างการพิจารณาขึ้นทะเบียนกับ อย.
วัคซีน COVID-19 ชนิดไหน เหมาะกับใคร?
+ ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถฉีดได้ทุกชนิด โดยแนะนำให้เลือกฉีดเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น
+ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดวัคซีน “AZD 1222” ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เนื่องจากมีการศึกษาที่รายงานถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในกลุ่มผู้สูงอายุ
+ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีและหญิงตั้งครรภ์ ยังไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน เนื่องจากผลการศึกษาถึงความปลอดภัยและผลข้างเคียงยังไม่ชัดเจน
ต้องฉีดกี่เข็ม ถึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด?
#วัคซีน “CoronaVac” ของบริษัท Sinovac : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์
#วัคซีน “AZD 1222” ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า – ออกซ์ฟอร์ด : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์
#วัคซีน “Ad26.COV2.S” ของบริษัท Johnson & Johnson : ฉีด 1 เข็ม
#วัคซีน “โทซินาเมแรน” (Tozinameran) ของบริษัท Pfizer-BioNTech : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์
#วัคซีน “โควิชิลด์” (Covishield) จากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์
#วัคซีน mRNA-1273 ของบริษัท Moderna : ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์
#วัคซีน “ซิโนฟาร์ม” (Sinopharm) จาก สถาบันยาชีววัตถุปักกิ่ง : ยังไม่มีการระบุ
Credit : www.clinicaltrialsarena.com
หลังฉีดวัคซีนแล้วยังมีโอกาสเป็น COVID-19 หรือไม่?
เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดที่สามารถป้องกันโรคได้ 100% ดังนั้น แม้ฉีดวัคซีนแล้วก็ยังมีโอกาสเป็นโรค COVID-19 ได้ แต่ความรุนแรงของโรคจะลดลง และลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตลงได้
หากเคยติดเชื้อ COVID-19 มาแล้ว ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 อีกหรือไม่?
เป็นความจริงที่ว่าผู้ที่เคยผ่านการติดเชื้อ COVID-19 มาแล้ว ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ แต่ก็มีการศึกษาพบว่าระดับภูมิคุ้มกันมีการลดระดับลงอย่างรวดเร็วจึงสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก ดังนั้นแม้เคยติด COVID-19 มาแล้ว ก็ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อซ้ำ
เปรียบเทียบประสิทธิภาพ ข้อดี ข้อด้อย และผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิด
เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดที่สามารถป้องกันโรคได้ 100% ดังนั้น แม้ฉีดวัคซีนแล้วก็ยังมีโอกาสเป็นโรค COVID-19 ได้ แต่ความรุนแรงของโรคจะลดลง และลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตลงได้
หากเคยติดเชื้อ COVID-19 มาแล้ว ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 อีกหรือไม่?
เป็นความจริงที่ว่าผู้ที่เคยผ่านการติดเชื้อ COVID-19 มาแล้ว ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ แต่ก็มีการศึกษาพบว่าระดับภูมิคุ้มกันมีการลดระดับลงอย่างรวดเร็วจึงสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก ดังนั้นแม้เคยติด COVID-19 มาแล้ว ก็ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อซ้ำ
เปรียบเทียบประสิทธิภาพ ข้อดี ข้อด้อย และผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิด