รวมลิสต์วิธีตรวจ ‘มะเร็งเต้านม’ ที่มากกว่าแค่การใช้มือคลำ
มะเร็งเต้านมถือเป็นโรคมะเร็งยอดฮิตอันดับ 1 ที่มีผู้หญิงไทยตรวจพบเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึง 39.8% ในปี 2563 เลยทีเดียว เห็นตัวเลขแล้วก็น่าตกใจ แต่อย่าเพิ่งตื่นตระหนก เพราะถ้าหากเราหมั่นตรวจเช็คเต้านมของเราอยู่เป็นประจำ ก็จะให้ห่างไกลจากมะเร็ง ด้วยวิธีการที่มากกว่าแค่ใช้มือคลำ
#ส่องกระจกแล้วรู้สึกรูปทรงเต้านมเปลี่ยนไป
วิธีการนี้ง่ายแสนง่าย เพียงแค่สังเกต มองดูเต้านมตัวเองในกระจก เริ่มจากการหมุนตัว ลองหันหน้าตรงเข้ากระจก หันด้านข้าง และด้านหลัง มองดูความผิดปกติของเต้านม หากรูปทรงเปลี่ยนไปหรือมีความปกติใดๆ ให้คิดไว้ก่อนเลยว่าอาจจะมีความเสี่ยง
#รู้สึกเจ็บ มีอาการบวม แดง
การรู้สึกเจ็บอาจเป็นสัญญาณเตือนของการมีก้อนเนื้อขึ้นบริเวณเต้านม ซึ่งลักษณะอาการจะมีการเจ็บ มีการบวม แดง บริเวณเต้านม ซึ่งอาจจะแสดงอาการใดอาการหนึ่งก็ได้ ดังนั้นหากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจรักษาอย่างละเอียด
#มีน้ำใสๆ ออกมา หรือมีรอยผื่นแดงบริเวณหัวนม
การตรวจดูในลักษณะนี้อาจจะใช้การมองอย่างเดียวไม่ได้ อาจจะต้องเริ่มจากการจับหรือคลึงบริเวณหัวนม เพื่อตรวจดูความผิดปกติว่ามีน้ำใสๆ ออกมาหรือไม่ ในขณะเดียวกันก็ดูความผิดปกติของผิวบริเวณหัวนมด้วยว่า มีรอยผื่นแดงเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งรอยผื่นแดงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของรอยโรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่ม ซึ่งถ้ามีความปกติที่เราพบเจอ ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด ทั้งนี้เป็นเรื่องดีที่เราพบความผิดปกติไว อาจจะทำให้เรารักษาได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง
#การตรวจอัลตราซาวด์
การตรวจอัลตราซาวด์ สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุต่ำกว่า 35 ปี และผู้หญิงทุกคนควรตรวจอัลตราซาวด์ทุกๆ 1-2 ปี ซึ่งการตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเนื้อเต้านม ทำให้สามารถตรวจจับความแตกต่างของเนื้อเยื่อปกติกับก้อนในเต้านมได้ ถือเป็นวิธีการตรวจที่แม่นยำขึ้นกว่าการตรวจด้วยตนเอง
#การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram)
การตรวจแบบดิจิตอลแมมโมแกรมจะมีความละเอียดขึ้นไปอีกขั้น ซึ่งผู้หญิงควรจะตรวจตอนอายุ 35 ปีขึ้นไป ทุกๆ 1-2 ปี ซึ่งการตรวจจะแสดงผลออกมาในรูปแบบของภาพดิจิตอล โดยแพทย์จะสามารถดูในเฉพาะจุดได้ หากพบความผิดปกติก็สามารถดูเฉพาะจุดนั้นๆ เพื่อทำการวินิจฉัยร่วมได้ และก็สามารถดูภาพแบบเชิงลึกได้แบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย
เพราะฉะนั้นสาวๆ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม และอัลตร้าซาวด์พร้อมตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทางอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง ถ้าหากมีอาการน่าสงสัยควรตรวจทุกๆ 6 เดือน นอกจากนี้ถ้ามีคนในครอบครัวของเรามีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการตรวจด้วยเหมือนกัน เพราะ ‘เต้านม’ เต้าใจ มีแค่คู่เดียวนะสาวๆ
สนใจ แพ็กเกจตรวจสุขภาพ คลิก!