ธาลัสซีเมีย...ต้องเคลียร์ให้ชัดก่อนแต่งนะ รู้มั้ย
ความฝันของคู่รักหลายๆ คู่ คงหนีไม่พ้นงานแต่งงานใช่มั้ยล่ะ แต่ก่อนบ่าวสาวก่อนจะวาดภาพฝันถึงวันแต่งงาน แน่ใจนะว่าไม่ได้ลืมเรื่องสำคัญอย่างเรื่องสุขภาพไป เพราะมีข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่าคนไทยเป็นพาหะธาลัสซีเมียถึง 40% ของประชากร ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในโลก ทั้งยังสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมไงล่ะ ช็อตฟีลจนต้องแทรกคิว to do list งานแต่งเลยล่ะสิธาลัสซีเมีย เคลียร์ก่อนคืออะไร?
โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดจางชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ทำให้มีอาการซีดเรื้อรัง สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมคือ ผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจะได้รับยีนผิดปกติมาจากพ่อและแม่ ส่วนคนที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะได้รับยีนผิดปกติมาจากพ่อหรือจากแม่คนใดคนหนึ่ง ซึ่งในกลุ่มของผู้ที่เป็นพาหะจะมีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติให้ลูกได้ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
- เบต้า-ธาลัสซีเมีย เกิดจากความไม่สมบูรณ์ของฮีโมโกลบิน จึงไม่รุนแรงนัก เพียงแค่ทำให้มีอาการตัวเหลืองซีด
- แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย จะเป็นพาหะที่รุนแรงกว่า โดยสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระดูกโดยตรง และอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือเสียชีวิตหลังคลอดได้
(รุน) แรงแค่ไหนนะ...ธาลัสซีเมีย?
ด้วยชนิดที่แตกต่างกันของธาลัสซีเมีย ทำให้อาการที่พบมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป โดยแบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ
#กลุ่มอาการรุนแรงน้อย หรือ ฮีโมโกลบินเอช ผู้ป่วยจะมีแค่อาการซีด และตัวเหลืองเล็กน้อย แต่หากมีไข้หรือติดเชื้อผู้ป่วยจะซีดลง
#กลุ่มอาการรุนแรงปานกลาง หรือ โฮโมซัยกัส เบต้า-ธาลัสซีเมียและ เบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี ในช่วงแรกเกิดจะยังคงมีอาการเป็นปกติ แต่จะเริ่มมีอาการซีด อ่อนเพลีย ตาเหลือง ท้องป่อง ตับม้ามโต กระดูกใบหน้าเปลี่ยน โหนกแก้มสูง ดั้งจมูกแบน ฟันยื่น ตัวเตี้ยแคระแกร็น ผิวคล้ำ เจริญเติบโตไม่สมอายุตั้งแต่ภายในขวบปีแรกหรือหลังจากนั้น
#กลุ่มอาการรุนแรงมาก หรือ ฮีโมโกลบินบาร์ทโฮดรอพส์ ฟิทัลลิสเป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด ส่วนใหญ่เด็กจะเสียชีวิตตั้งแต่ในท้องแม่หรือภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด โดยพบว่าทารกมีลักษณะบวมน้ำทั้งตัว คลอดลำบาก ซีด ตับม้ามโต มีรกขนาดใหญ่
รู้ได้ไงว่า (ใคร) เป็น?
โรคธาลัสซีเมียสามารถตรวจพบได้ด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเลือด โดยแพทย์จะตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ร่วมกับการตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษ ที่เรียกว่าการตรวจ "Hb typing" และการตรวจวิเคราะห์ DNA ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นแล้วก็สามารถดูแลรักษาตัวเองให้หายได้ด้วยการปฏิบัติตัว ดังนี้
- ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง โดยควรงดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง รวมถึงยาและวิตามินที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
- ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก ควรฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่ควรหักโหมจนเกินไป และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการกระแทกรุนแรง
- ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน เนื่องจากอาจจะมีฟันผุได้ง่าย
- ถ้ามีไข้สูง ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะอาจเสี่ยงโรคติดเชื้อรุนแรง
- รับประทานยา folic acid ตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียร่างกายจะสร้างเลือดมากกว่า จึงมีความต้องการ folic acid เพิ่มขึ้น
คนเป็นพาหะ….อันตรายแค่ไหนกันนะ?
ผู้เป็นพาหะสามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปสู่ลูกได้ จึงควรวางแผนก่อนการมีลูก เพื่อหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย และควรพาคู่สมรสไปตรวจเลือดก่อนมีลูก เพราะหากว่าคู่สามีภรรยาเป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย 25% ดังนั้นเมื่อตั้งครรภ์ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทารกก่อนคลอด หรือ คู่สามีภรรยาจะเลือกใช้วิธีผสมเทียมเข้ามาช่วยในการมีลูก และถ้าจะให้ดีควรแนะนำให้ญาติพี่น้องไปตรวจเลือดด้วยจะดีที่สุด
การตรวจสุขภาพก่อนสมรสช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคู่รัก โดยเฉพาะการวางแผนที่จะมีลูกในอนาคตและสร้างครอบครัวที่มีสุขภาพดีไปด้วยกัน
สนใจ แพ็กเกจตรวจสุขภาพ คลิก!