ทุกคนควรรู้ แฟนคลับควรรู้ ว่าโรคกระเพาะไม่ได้เกิดจากการอดอาหาร


เราโตมาพร้อมกับการถูกสอนว่าอย่าอดอาหาร เพราะถ้าอดอาหารจะทําให้เป็นโรคกระเพาะ หรือบางทีก็เลยไปถึงว่าถ้าอดอาหารแล้วจะทําให้กระเพาะทะลุ ซึ่งตอนนั้นเราก็ยังไม่ทันได้เอ๊ะ ประกอบกับวิชาวิทยาศาสตร์เองก็มีเนื้อหาว่าในกระเพาะจะมีน้ําย่อยที่ทําหน้าที่ย่อยอาหารต่างๆ ที่เรากินเข้าไป เมื่อเอาทั้งเรื่องคําสอนบวกเข้ากับความเป็นไปได้จากวิชาเรียน ก็ดูจะคล้อยตามกันด้วยเหตุและผล และมีหรือที่เราจะไม่เชื่อ

แต่สิ่งที่ลืมนึกไปก็คือถ้าอดอาหารแล้วเป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะทะลุ ทําไมพระสงฆ์ที่ฉันอาหารได้แค่มื้อเช้ามื้อเดียว ถึงมีร่างกายแข็งแรง และทําไมผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามถึงไม่ป่วยเป็นโรคกระเพาะในช่วงเดือนศักดิ์สิทธิ์หรือรอมฎอนล่ะ




เพราะโรคกระเพาะ...เกิดได้จากหลากหลายปัจจัย
ในปี 2005 มีคุณหมอสองท่าน ชื่อว่าคุณหมอ แบร์รี่ เจ มาร์แชลล์ (Barry J. Marshall) และ เจ โรบินวาร์isu (0. Robin Warren) ผู้ชํานาญด้านอายุรเวทจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์ จาก สภาโนเบล ณ สถาบันวิจัยการแพทย์คาโรลินสกาแห่งสต็อกโฮม (Stockholm's Karolinslka Institute of medical research) จากการค้นพบว่าโรคกระเพาะที่แท้จริงนั้นเกิดจากแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (Helicobacter Pulori) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า เอชไพโลไร (H.pylori) ซึ่งแบคทีเรียตัวนี้ไม่ได้เป็นแบคทีเรียที่เพิ่งอุบัติขึ้นมาใหม่ แต่เป็นเชื้อที่อยู่ในน้ำดื่มและอาหารรอบตัวเรา ความสามารถพิเศษของแบคทีเรียตัวนี้คือสามารถเปลี่ยนสภาพตัวเองให้มีค่าเป็นด่าง เพื่อให้อาศัยอยู่ได้ในกระเพาะที่มีน้ำย่อยที่มีฤทธิเป็นกรดได้อย่างไม่สะทกสะท้าน ประหนึ่งว่ากําลังแช่อยู่ในออนเซนแสนสบายใจ

น้ำย่อยในกระเพาะย่อยอาหารได้จริง....แต่ไม่สามารถกัดกระเพาะเองได้ถ้าไม่มีตัวช่วย
อย่างที่บอกว่าแม้ในกระเพาะอาหารเราจะมีการผลิตน้ำย่อยออกมา แต่ลําพังตัวเองแล้วจะไม่สามารถทำลายกระพาะได้ เพราะตัวกระเพาะเองก็จะมีกลไลผลิตเมือกหุ้มมาปกป้องตัวเองอีกที แต่เมื่อไหร่ที่กระเพาะมีแบคทีเรียเอชไพโลไรมากเกินไป แบคทีเรียตัวนี้แหละจะค่อยๆ ซึมผ่านเมือกเข้าไปจนถึงตัวกระเพาะ และไม่ใช่แค่เจ้าตัวร้ายนี้จะลงหลักปักฐานตรงนั้นจนทําให้กระเพาะเกิดการอักเสบ แต่ยังไปกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดออกมามากเกินปกติ เมื่อเกิดแรงกระตุ้นหลายทางมีหรือน้ำเมือกที่คอยปกป้องกระเพาะเราจะทานทนไหว สุดท้ายก็ต้องพ่ายยอมให้กรดซึมผ่านไปจนถึงตัวกระเพาะที่เกิดการอักเสบอยู่แล้วได้ เท่านั้นแหละก็จะกลายเป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะเป็นแผลที่เราคุ้นเคยกันดี

การรักษาที่ดีที่สุดคือการจัดการที่ต้นเหตุ
มาถึงจุดนี้แล้วคงยอมเชื่อแล้วใช่ไหมว่าถ้าเป็นโรคกระเพาะ ต่อให้กินอาหารครบ 3 มื้อต่อวันก็ไม่มีทางหาย เพราะต้นเหตุเกิดจากแบคทีเรีย ซึ่งวิธีกําจัดแบคทีเรียก็ไม่ยากเพราะสามารถทานยาปฏิชีวนะ แต่อย่าหลงระเริงใจไปหาซื้อยามาทานเองโดยเด็ดขาด เพราะยาปฏิชีวนะมีหลายแขนง เพื่อให้เหมาะสมกับการกำจัดแบคทีเรียแต่ละตัว เผลอๆ ใครที่ชอบซื้อยากลุ่มนี้ทานเองสุดท้ายเกิดภาวะดื้อยา ก็จะพลอยเป็นเรื่องใหญ่กันอีก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรทําที่สุดคือการเข้ารับการตรวจให้แน่ชัดว่าอาการปวดท้องของเรานั้นจัดอยู่ในกลุ่มโรคกระเพาะจริงๆ หรือว่ามีปัจจัยจากสิ่งอื่น ที่สําคัญอย่าปล่อยให้โรคนี้กลายเป็นโรคเรื้อรัง เพราะจะส่งผลให้เกิดโรคที่ร้ายแรงมากขึ้น ข้อมูลจาก ผศ. นพ.ไชยรัตน์ ทรัพย์สมุทรชัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยันข้อมูลว่า “เชื้อโรคเอชไพโลไร เป็นเชื้อโรคที่ทําให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ซึ่งพบว่าถ้าเราได้รับเชื้อตัวนี้ในระยะยาว มันจะทําให้เกิดกระเพาะอักเสบ และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้”

รู้ได้ยังไง? ว่ากระพาะเราพ่ายแพ้ต่อแบคทีเรียเอชไพโลไร
ข้อมูลจากโรพยาบาลรามาธิบดีกล่าวว่า สําหรับคนที่อยากสังเกตด้วยตัวเองว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะหรือไม่นั้น ให้เริ่มสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

•  ปวดหรือแสบร้อนที่ท้องส่วนบนบริเวณเหนือสะดือ
• ปวดรุนแรงเมื่อท้องว่างหรือหลังจากรับประทานอาหาร
• คลื่นไส้ อาเจียน
• จุกเสียดลิ้นปี
• ท้องอืด เรอบ่อย
• เบื่ออาหาร
• น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ

หากคุณมีอาการเหล่านี้มากเกิน 4 ข้อแล้วล่ะก็ เพื่อความชัวร์ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทําการตรวจอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเลือดเพื่อดูว่าร่างกายเรามีการสร้างภูมิต้านทานออกมาสู้กับเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ ตรวจลมหายใจโดยคุณหมอจะให้ผู้ที่มีอาการปวดท้องหายใจออกใส่ถุง จากนั้นก็นําไปตรวจหาร่องรอยการติดเชื้อจากแอมโมเนียและคาร์บอนไดออกไซด์ หรือถ้าอยากเห็นรายละเอียดแบบเรียลไทม์ก็เลือกการตรวจแบบส่องกล้อง ซึ่งวิธีนี้คุณหมอเองก็จะได้เห็นทุกอย่างภายในทางเดินอาหารแบบทะลุปรุโปร่ง เพื่อง่ายต่อการวินิจฉัยและทําการรักษาต่อไป

พูดมาซะยืดเยื้อสรุปได้ง่ายๆ คือ เราควรทานอาหารที่สะอาด หมั่นสังเกตร่างกายตัวเอง หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จนกลายเป็นคนที่มีโรคกระเพาะเป็นเพื่อนสนิท ทางที่ดีก็ควรรีบรักษาแผลในกระเพาะที่เกิดจากแบคทีเรียเอชไพโลไรให้หายขาด เพราะถ้ายังมีรอยแผลอยู่ล่ะก็ ที่นี้หล่ะการกินอาหารไม่เป็นเวลา อาหารรสจัด การดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการกินยาที่มีฤทธิ์ในการกัดกระเพาะ ก็จะเข้าไปซ้ำเติมรอยแผลเก่าจนทําให้เกิดการ After Shock ขึ้นมาอีกระลอก

มากไปกว่านั้นใครที่ได้อ่านบทความนี้แล้วใช่ว่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารไปเลย โดยให้เหลือแค่วันละ 1 มื้อ แต่ยังคงควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อต่อวัน และถ้าทําได้ก็ควรทานอาหารให้ตรงเวลา เพราะประโยชน์ที่จะได้ต่อมาคือ สารอาหารที่จําเป็นในแต่ละมื้อและแต่ละวัน สําหรับใครที่กําลังลดน้ําหนักโดยการใช้วิธี Intermittent Fasting (IF) ก็ยังสามารถทําได้ แต่ไม่ควรทําติดกันเป็นเวลานานๆ ควรแบ่งช่วงให้ร่างกายได้ทานอาหารครบ 3 มื้อต่อวันบ้าง
-->