ติด (ความ) หวาน… อาจเป็นสัญญาณว่า “นอนไม่พอ”

 
ความหวานมันดีต่อใจช่วยให้เช้าวันใหม่สดใส colorful ใช่มั้ยละ ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงไม่ได้คิดไปเอง เพราะมีข้อมูลชี้ชัดว่า “กลูโคส” มีส่วนช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่ง “เซโรโทนิน” ที่ถูกยกให้เป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่ช่วยให้อารมณ์ดี การได้รับความหวานสักนิดในตอนเช้าที่เร่งรีบแบบนี้ ก็ทำเอากระปรี้กระเปร่าได้อยู่เหมือนกันแหล่ะ แต่ แต่ แต่ การอยากของหวานที่ว่านี้ กลับอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังนอนไม่พออยู่ก็ได้นะ ลองสำรวจตัวเองกันหน่อยว่ายิ่งนอนน้อย ยิ่งอยากได้อะไรหวานๆ เพิ่มน้ำตาลในเลือดจริงไหม

 
แม้ร่างกายจะหลับ แต่ระดับน้ำตาลในเลือดยังเปลี่ยนแปลง
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้คือมีทั้ง “เพิ่ม” และ “ลด” แม้จะฟังดูขัดแย้งมีงานหลายงานวิจัยที่พบว่าคนที่นอนหลับไม่เพียงพอนอนต่ำกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ทำงานเป็นกะ หรือนอนแบบหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน จะมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดมากกว่าคนที่เข้านอนเร็วอย่างมีนัยสำคัญ นั่นก็เป็นเพราะระดับฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด  ทำงานผิดปกติไป นำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ได้อย่างไม่เต็มที่ จึงทำให้มีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมากขึ้น
 
ในทางกลับกัน คนที่นอนหลับได้อย่างเพียงพอ นอนหลับได้อย่างมีคุณภาพตลอดทั้งคืน ระบบฮอร์โมนของร่างกายก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เซลล์มีการนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ระบบเผาผลาญทำงานได้ดี การมีน้ำตาลสะสมในเลือดก็จะลดน้อยลง
 
สาเหตุสำคัญที่ทำให้อยากหวาน เมื่ออดนอน
#การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้ระดับฮอร์โมนคอลติซอล หรือฮอร์โมนความเครียดหลั่งออกมามากขึ้น ซึ่งโดยปกติฮอร์โมนชนิดนี้จะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน รักษาระดับความดันโลหิต รวมถึงปรับระดับน้ำตาลในเลือด แล้วจะเกิดอะไรเมื่อคอร์ติซอลออกมามากกว่าปกติ? ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว สมองอันชาญฉลาดของเราก็จะสั่งให้พยายามหาน้ำตาลมาเติม ทำให้เรารู้สึกหิวและอยากทานของหวานๆ อย่างไม่อาจต้านทานได้ยังไงล่ะ
 
#การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้การทำงานของสมองเปลี่ยนแปลงไป โดยมีงานวิจัยพบว่า การอดนอนทำให้ผู้คนมีแนวโน้มที่จะดื่มด่ำกับอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง กินมากขึ้น กินมื้อหลักแล้วยังต่อด้วยมื้อว่างซึ่งส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นของหวานล้างปากสักหน่อยนึง ในทางกลับกันกลุ่มผู้ที่นอนหลับพักผ่อนเพียงพอมีแนวโน้มที่จะเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า และก็มักบริโภคในปริมาณที่น้อยกว่าคนอดนอนด้วย
 
อ่านเพิ่มเติมที่นี่ www.sleep.org/sugar-impacts-sleep/

 
แต่ (กิน) หวานมากไป ก็ทำนอนไม่เต็มอิ่มได้
ดร.ไมเคิล บรีอุส นักจิตวิทยาคลินิกชาวอเมริกันที่เชี่ยวชาญเรื่องความผิดปกติของการนอนหลับ พบว่า คนที่กินอาหารที่มีน้ำตาลสูงมักจะนอนไม่ค่อยหลับ และมักมีอาการกระสับกระส่ายในเวลากลางคืน ซึ่งเมื่อนอนหลับได้ไม่ดีผลที่ตามมาก็คือทำให้มีความอยากน้ำตาลในตอนตื่นนอนวนไปไม่รู้จบ 
 
สอดคล้องกับงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาในกลุ่มอาสาสมัคร 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งได้รับอาหารที่ควบคุมปริมาณน้ำตาล ไขมัน  และเน้นไฟเบอร์ ส่วนกลุ่มที่สองได้รับอนุญาตให้กินอะไรก็ได้ตามต้องการ ซึ่งนักวิจัยพบว่าอาสาสมัครในกลุ่มที่กินน้ำตาลน้อยกว่าสามารถนอนหลับลึกในระยะ Slow-Wave Sleep ซึ่งเป็นระยะการนอนหลับที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกาย กระตุ้นระบบเผาผลาญและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ได้เร็วกว่ากลุ่มที่สอง และอาสาสมัครในกลุ่มที่สองส่วนใหญ่จะนอนหลับแบบกระสับกระส่าย ตื่นบ่อยขึ้นตลอดทั้งคืน
 
ไม่อยากเสี่ยงโรคจากความหวาน ไม่ต้องนอนนาน แค่ต้องนอนอย่างมีคุณภาพ
เพราะการนอนที่ดีไม่ได้วัดที่ชั่วโมงของการนอนเพียงอย่างเดียว แต่การนอนอย่างไรให้มีคุณภาพก็สำคัญ การหลับอย่างมีคุณภาพ คือ ครบวงจรทุกระยะการหลับ ทั้งหลับตื้น หลับลึก และหลับฝัน ให้ครบทุกระยะ
• หลับตื้น เป็นระยะแรกที่มีการหลับ แต่ยังไม่มีการฝัน
• หลับลึก เป็นช่วงหลับสนิทที่สุดของการนอนใช้เวลา 30 – 60 นาที ช่วงระยะนี้อุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิตจะลดลง อัตราการเต้นของหัวใจลดลงเหลือประมาณ 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งระยะนี้นี่แหล่ะที่ร่างกายจะเริ่มซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจากการใช้งานมาตลอดทั้งวัน
• หลับฝัน อีกระยะหนึ่งที่สำคัญ เพราะร่างกายจะได้พักผ่อน แต่สมองจะยังตื่นตัวอยู่ นอกจากนี้การหลับฝันยังช่วยจัดระบบความจำในเรื่องของทักษะต่างๆ อีกด้วย
 
อยากให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น HEALTH ADDICT ยกให้ LAVITA NITESENSE เป็นที่ 1 ในใจ เพราะช่วยให้หลับได้สนิทขึ้น และยังลดความเครียด ป้องกันการอ่อนเพลียของร่างกาย ให้พร้อมที่จะเผชิญวันใหม่แบบสดใสโดยไม่ต้องพึ่งความหวานได้ดีจนอยากให้ลอง

ตอนนี้เรามีโปรโมชั่นสุดพิเศษประจำเดือนด้วย

-->