คนเราต้องนอน 8 ชั่วโมงจริงหรอ... นอนน้อย เสี่ยงอะไรบ้าง
ในแต่ละวันเราต่างมีสิ่งที่ “ต้อง” ทำมากมายหลายอย่าง และหนึ่งในนั้นคือ “การนอนหลับ” หลายคนคิดว่าเอาเวลานอนไปทำอย่างอื่นดีกว่า จนนอนไม่ครบ 8 ชั่วโมง และเกิดผลแบบนี้ตามมา
1) ป่วย – ระบบภูมิคุ้มกันของเรานั้นเชื่อมโยงโดยตรงกับการนอนหลับ แน่นอนว่าเมื่อเราพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็เป็นการยากที่ร่างกายจะต่อสู้กับเชื้อโรคที่เผชิญในแต่ละวัน
2) คิดไม่ออก – ทั้งเรื่องการตอบสนองและการใช้เหตุผล ซึ่งนี่เป็นเรื่องอันตราย โดยเฉพาะเมื่อเราต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ เช่น การขับรถ
3) ขี้ลืม – ช่วงที่เราหลับนั้น สมองยังคงทำงาน หนึ่งในนั้นคือการจัดระเบียบข้อมูลต่างๆ เมื่อนอนไม่พอ การจัดระบบก็ทำได้ไม่เต็มที่
4) น้ำหนักขึ้น – ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นแน่นอนถ้าคุณนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมง
5) ผิวแก่ – ปัญหาผิวต่างๆ จะตามมา ทั้งสิว ริ้วรอย จุดด่างดำ และร่างกายจะแก่เร็วกว่าวัย
6) มีความเสี่ยงโรคบางอย่างเพิ่มขึ้น – หนึ่งในนั้นคือโรคหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็งหลายชนิด
7) แรงขับทางเพศลดลง – ถ้าคุณนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อวันมานานนับสัปดาห์ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจะชะงัก และฮอร์โมนเพศลดลงถึง 15% ด้วยนะ
แก้ปัญหายังไงดีล่ะ
1) ปรับเวลานอนให้เหมาะกับตัวเอง – แต่ละคืนต้องเข้านอนและตื่นให้ตรงเวลา ไม่ว่าเป็นวันทำงานหรือวันหยุด แรกๆ อาจจะยาก แต่นานไปร่างกายคุณจะเริ่มชิน (วันหยุด ตื่นสายได้นะจ้ะ)
1) ป่วย – ระบบภูมิคุ้มกันของเรานั้นเชื่อมโยงโดยตรงกับการนอนหลับ แน่นอนว่าเมื่อเราพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็เป็นการยากที่ร่างกายจะต่อสู้กับเชื้อโรคที่เผชิญในแต่ละวัน
2) คิดไม่ออก – ทั้งเรื่องการตอบสนองและการใช้เหตุผล ซึ่งนี่เป็นเรื่องอันตราย โดยเฉพาะเมื่อเราต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ เช่น การขับรถ
3) ขี้ลืม – ช่วงที่เราหลับนั้น สมองยังคงทำงาน หนึ่งในนั้นคือการจัดระเบียบข้อมูลต่างๆ เมื่อนอนไม่พอ การจัดระบบก็ทำได้ไม่เต็มที่
4) น้ำหนักขึ้น – ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นแน่นอนถ้าคุณนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมง
5) ผิวแก่ – ปัญหาผิวต่างๆ จะตามมา ทั้งสิว ริ้วรอย จุดด่างดำ และร่างกายจะแก่เร็วกว่าวัย
6) มีความเสี่ยงโรคบางอย่างเพิ่มขึ้น – หนึ่งในนั้นคือโรคหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็งหลายชนิด
7) แรงขับทางเพศลดลง – ถ้าคุณนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อวันมานานนับสัปดาห์ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจะชะงัก และฮอร์โมนเพศลดลงถึง 15% ด้วยนะ
แก้ปัญหายังไงดีล่ะ
ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือ “ก็นอนให้เยอะๆ สิเธอ” เฉลี่ยคืนละ 8 ชั่วโมง เมื่อคุณรู้แล้วว่าจะเกิดเรื่องแย่ๆ อะไรบ้างหากนอนไม่พอ ก็ควรรีบเข้านอนซะนะ คุณจะสังเกตได้เลยว่าเช้าวันต่อมาคุณจะรู้สึกสดใส หัวไวกว่าวันที่นอนไม่พอ
แต่ถ้าคุณเข้านอนเร็วกว่าเดิมแล้ว เกิดปัญหาตามมา เพราะกว่าจะข่มตาหลับก็ปาเข้าไปตีสาม เรามีทางออกมาให้
แต่ถ้าคุณเข้านอนเร็วกว่าเดิมแล้ว เกิดปัญหาตามมา เพราะกว่าจะข่มตาหลับก็ปาเข้าไปตีสาม เรามีทางออกมาให้
1) ปรับเวลานอนให้เหมาะกับตัวเอง – แต่ละคืนต้องเข้านอนและตื่นให้ตรงเวลา ไม่ว่าเป็นวันทำงานหรือวันหยุด แรกๆ อาจจะยาก แต่นานไปร่างกายคุณจะเริ่มชิน (วันหยุด ตื่นสายได้นะจ้ะ)
2) สูดอากาศบริสุทธิ์ – ถ้าสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศเอื้อต่อการนอน คุณก็จะหลับง่ายขึ้น... ก่อนนอนลองออกไปเดินสูดอากาศสัก 15 นาที และถ้าคุณไม่ใช่คนขี้หนาว ลองปรับแอร์ไว้ที่ 20-25 องศา จะช่วยให้คุณหลับสบายขึ้น
3) เคลื่อนไหวร่างกายเยอะหน่อย – ความอ่อนล้าทางกายเป็นตัวกระตุ้นที่ดีในการนอนหลับ เช่น ถ้าคุณเป็นสาวออฟฟิสทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นประจำ ลองออกไปเดินหรือสควอทก่อนเวลาเข้านอนสัก 2 ชั่วโมง รับรองว่าหลับง่ายขึ้น
4) คลายความวิตกกังวล – ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรดูข่าวมากนัก โดยเฉพาะข่าวความรุนแรงต่างๆ มันไม่ใช่เรื่องแย่หรอกที่เราอยากรู้ข่าวสารบ้านเมือง แต่ก่อนนอนควรดูอะไรที่ผ่อนคลาย อย่างภาพหมาๆ แมวๆ สัตว์โลกน่ารักทั้งหลายมากกว่า
5) อย่ากินก่อนนอน – เพราะการย่อยอาหารนั้นไม่ได้ทำให้คุณนอนหลับสบายนัก ทางที่ดีควรกินก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
6) ไม่ควรดื่มกาแฟตอนเย็น – รวมทั้งชาและเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีคาเฟอีน เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง ช็อกโกแลต
7) ไม่เอางานกลับมาทำที่บ้าน – บ้านคือสถานที่สำหรับการพักผ่อน บอกตัวเองว่าการติดต่อสื่อสารต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องงาน ก็อยู่แค่ที่ทำงานเท่านั้น
8) ผ่อนคลายหน่อยมั๊ย – ไม่ว่าจะเป็นการนอนแช่น้ำอุ่น หรือการอ่านหนังสือดีๆ สักเล่มก่อนนอน ช่วยให้หลับง่ายขึ้นแน่
9) สร้างกฏของตัวเอง – อะไรก็ได้ที่เป็นสัญญาณให้ร่างกายว่าคุณควรเข้านอนได้แล้ว เช่น แปรงฟัน อาบน้ำ ทาครีม หรืออะไรก็ได้ที่คุณชอบและทำให้หลับสบายขึ้น
10) สร้างบรรยากาศในการหลับ – เช่น ใส่ชุดนอน ขดตัวในผ้าห่มอุ่น และไม่ควรมีทีวี เพราะในห้องนอนควรเป็นสถานที่สำหรับเซ็กส์และการนอนหลับเท่านั้น
แล้วแต่ละช่วงวัยควรนอนกี่ชั่วโมงดีล่ะ - 0-3 เดือน >> 14-17 ชั่วโมง
- 4-11 เดือน >> 12-15 ชั่วโมง
- 1-2 ปี >> 11-14 ชั่วโมง
- 3-5 ปี >> 10-13 ชั่วโมง
- 6-13 ปี >> 9-10 ชั่วโมง
- 14-17 ปี >> 8-10 ชั่วโมง
- 18-23 ปี >> 7-9 ชั่วโมง
- 24-64 ปี >> 7-9 ชั่วโมง
- 65+ ปี >> 7-8 ชั่วโมง
ใครที่เคยนอนไม่หลับหรือนอนน้อยเป็นประจำจะรู้ดีว่าพฤติกรรมนี้บั่นทอนสุขภาพมากแค่ไหน ไม่รวมถึงขีดความสามารถในการทำงานน้อยลง และสุขภาพจิตที่แย่ลงอย่างเห็นได้ชัด
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากลุกขึ้นมาเปลี่ยนตัวเอง กลับบ้านไปก็เตรียมตัวกันเถอะ รับรองว่ารู้สึกดีขึ้นแน่นอน