Try This! แค่ทำตามนี้...นั่งรถนานแค่ไหนก็ไม่ 'ปวดเมื่อย'
ไม่ต้องเดินทางไกลถึงต่างจังหวัด...แค่นั่งในรถไปทำงานใน Bangkok City ก็เป็นเหตุให้ปวดเมื่อยจนต้องเข้าหานักกายภาพกันได้แล้วหล่ะ!
ทุกวัน คุณต้องใช้เวลาบนท้องถนนไปกับการจราจรที่ติดขัดเป็นชั่วโมง นานพอที่จะเกิดอาการปวดเมื่อยตาม คอ บ่า หลังและสะโพกได้ ถูกมั้ย?
คุณหมอ Ginger Edgecombe Dorsey จาก The USDA Animal and Plant Health Inspection Service (APHIS) บอกไว้ว่า การนั่งที่ผิดท่าเป็นระยะเวลานานแบบนี้ สามารถทำให้คนขับรถหรือคนนั่งเกิดความปวดเมื่อยตามสรีระของร่างกาย และมันก็นำไปสู่อาการปวดที่เรื้อรัง ง่ายต่อการบาดเจ็บอีกด้วย
และไม่ใช่แค่คุณหมอที่ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ มีงานวิจัยจากสำนักพิมพ์ Atlantis Press อธิบายว่าการนั่งที่ผิดแบบแผน เช่น โน้มไปข้างหน้าผิดองศาสามารถเพิ่มเลเวลความเจ็บปวดสู่ระดับขั้นรุนแรงได้เมื่อประสบอุบัติเหตุ
เพราะแบบนี้ เราเลยเฟ้นหาวิธี How to sit and save the body สำหรับคุณคนขับและคนนั่ง เพื่อบอดี้ของคุณทั้งคู่จะได้แฮปปี้ระหว่างการนั่งนานๆ ยังไงหล่ะ
7 เวย์สำหรับ 'Driver' เลี่ยงเมื่อยแบบไหน 'ถึงจะรอด'
#1 อย่าลืม Back Support
ถ้าเป็นคนขับ วิธีการนั่งที่ถูกต้องคือขยับบริเวณก้นกบให้ชิดกับพนักพิงมากที่สุด หากไม่สามารถทำได้ให้หาตัวช่วยหนุนหลังอย่าง back supportมา เพื่อให้บริเวณก้นกบได้มีที่รองรับตามสรีระอย่างสมดุลและเหมาะสม ส่วนบริเวณเข่า ให้ขยับออกมาจากด้านหน้า โดยเว้นระยะไว้ประมาณ 3 นิ้วมือต่อกัน
#2 เมคชัวร์ว่า "สะโพกสูงกว่าเข่า"
จากที่เข่ากับต้นขาคุณอยู่ในระดับเดียวกัน ให้ปรับเบาะนั่งยังไงก็ได้ให้เข่าของคุณอยู่ต่ำกว่าบริเวณสะโพกซักเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ระบบการหมุนเวียนเลือดนั้นดีขึ้น
#3 การมองเห็นต้อง "Clear"
ต้องแน่ใจว่าระดับความสูงในการนั่งของคุณอยู่ในระดับสายตาที่เหมาะสม โดยระดับสายตาคุณต้องอยู่สูงกว่าพวงมาลัยประมาณ 3 นิ้ว อย่าลืมเว้นช่องว่างระหว่างศีรษะและเพดานรถให้พอดี
#4 เอนที่นั่งได้ "แต่อย่าเยอะ"
องศาในการนั่งไม่ควรตั้งฉากเป๊ะ! คุณต้องเอียงที่นั่งเล็กน้อย แต่อย่ามากเกินไปจนต้องเอี้ยวศรีษะและคอมาข้างหน้า เพราะจะทำให้ปวดไหล่และคอได้
Photo Credit : Geico.com
#5 เซ็ต "Headrest" ให้พอดีเสมอ
ปรับที่พิงศีรษะให้ตัวที่พิงอยู่ระหว่างบริเวณขอบบนสุดของศรีษะและขอบบนสุดของใบหู หรือง่ายๆ คือให้มันอยู่เหนือบริเวณใบหูขึ้นไปนั่นเอง
#6 กระจก "มีไว้ปรับ" ห้ามลืม!
อย่าลืมปรับเด็ดขาด หากคุณต้องชะโงกศรีษะขึ้นทุกครั้งหรือต้องคอยหันขวา-ซ้ายเหมือนขับมอเตอร์ไซต์ บ่อยครั้งเข้า นี่จะทำให้เกิดการตึงที่บริเวณคอและทำให้หลุดโฟกัสจนเกิดอุบัติเหตุได้ ทางที่ดีคุณต้องปรับให้กระจกมองหลังและมองข้างโชว์ทัศนียภาพให้เห็นการจราจรและรถที่กำลังมาจากทางด้านข้างได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้คุณต้องหันศรีษะไปมาอีก
#7 Take Break ทุกสองชั่วโมง
ขับมาซัก 2 ชั่วโมง คุณก็ต้องพักร่างกายได้แล้ว จริงๆ การพักเบรคมันคล้ายกับการนั่งทำงานบนโต๊ะนี่แหละ การเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ทุกๆ 2ชม.จะช่วยผ่อนคลายร่างกาย รวมไปถึงทำให้คุณได้พักสายตาจากความล้า อย่าลืมดื่มน้ำ ล้างหน้า ยืดขาและตัวเพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือไม่ก็งีบซักหน่อยจะได้มีพลังขับต่อ แถมร่างกายก็จะไม่ปวดเมื่อยอีกด้วย
...แล้ว "Sitter" ควรนั่งแบบไหนดี?
สำหรับคนที่นั่งหน้าคู่กับคนขับ วิธีการปรับเบาะนั่งก็ไม่ต่างกัน ส่วนคนนั่งหลังนั้น สิ่งที่คุณต้องมีคือหมอนรองคอเพื่อล็อกไม่ให้ศรีษะเคลื่อนไหวขณะงีบหลับ และถ้าอยากให้เลือดหมุนเวียนดี ก็ให้คุณผ่อนคลายเท้าด้วยการหมุนข้อเท้าไปมาหรือจิกปลายเท้า ขยับเปลี่ยนท่าทางเมื่อรู้สึกเมื่อย ยืดขา เหยียดและบิดตัวซ้าย-ขวาเพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกๆ สองชม. หรือเมื่อรู้สึกอึดอัด
เอาหล่ะ! หวังว่าปัญหานี้จะไม่สร้างปัญหาสุขภาพให้กับคุณอีก หากต้องการหลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ ในรถ คุณต้องเผื่อเวลาการเดินทางไปในที่ต่างๆ เพื่อเลี่ยงรถติด และที่สำคัญอย่าลืมพักเบรคในสถานที่ที่ปลอดภัยทุกๆ 1-2 ชั่วโมงกันด้วย จะได้ยืดเส้นยืดสาย เพียงเท่านี้ ความปวดเมื่อยตามร่างกายจากการนั่งนานๆ ก็ไม่มาทักทายคุณแล้ว