Fried rice syndrome “โรคข้าวผัด” โรคท้องเสียที่มาจาก ข้าวค้างวัน
ไหนๆ ก็เข้าหน้าร้อนแล้ว แน่นอนว่าโรคที่จะพบได้เยอะขึ้น คือ โรคท้องเสีย จากอาหารที่เน่าเสียเร็วเพราะอากาศร้อน และโรคที่พบได้บ่อยๆ แต่ไม่มีใครรู้ชื่อเลยก็คือ “โรคข้าวผัด”
โรคข้าวผัด ชื่อนี้มีจริงเหรอ
โรคข้าวผัด ชื่อนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นตามชื่อภาษาไทยแต่อย่างใด แต่เป็นชื่อจากภาษาอังกฤษที่แปลมาตรงๆ ตัวเลย ในชื่อ Fried rice syndrome ก่อนจะเล่าว่าทำไมถึงต้องเป็นโรคข้าวผัด ขอเล่าที่มาก่อนว่าโรคนี้เกิดจากอะไรโรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus Cereus (บาซิลัส ซีเรียส) คนละตัวกับ แลคโตบาซิลลัสที่อยู่ในนมเปรี้ยว ตัวนั้นเป็นแบคทีเรียดีที่ย่อยน้ำตาล แต่บาซิลัส ซีเรียส เป็นแบคทีเรียชนิดไม่ดีที่ทำให้เกิดโรค โดย บาซิลัส ซีเรียส จะชอบอาศัยอยู่ตามอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ในข้าว หรือพาสต้า และมักเติบโตในอาหารที่ไม่เก็บรักษาให้ถูกวิธี อย่างการเอาอาหารมาตั้งไว้ในอุณหภูมิห้องนานเกิน 2 ชั่วโมง และไม่ยอมกินทันที ทำให้บาซิลัส ซีเรียสเติบโตดี โดยเฉพาะวันที่อุณหภูมิสูง 30 องศาขึ้นไป ก็จะปล่อยสารพิษออกมาในอาหาร และสารพิษที่ปล่อยออกมา ความร้อนไม่สามารถทำลายได้ ต่อให้เอาเข้าไมโครเวฟก็ทำลายไม่ได้ พอกินเข้าไปก็ทำให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษ ร้ายแรงมากก็ทำให้เสียชีวิตได้
และตัว บาซิลัส ซีเรียส ก็แบ่งชนิดออกได้เป็น 2 ชนิดอีก ขึ้นอยู่กับอาการ
1. ชนิดที่ทำให้ท้องร่วง ท้องเสีย (Diarrhea toxin) ทำให้มีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย หลังกินข้าวไปแล้ว 8-16 ชั่วโมง โดยมักเกิดกับลำไส้เล็กส่วนล่าง
2. ชนิดที่ทำให้อาเจียน (Emetic toxin) ชนิดนี้จะร้ายแรงกว่า และฉับพลันกว่าแบบแรก ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนภายใน 1-6 ชั่วโมงหลังกินข้าว มักเกิดกับลำไส้เล็กส่วนบน
ซึ่งก็นำไปสู่คำถามว่าทำไมถึงได้ชื่อว่าโรคข้าวผัด เพราะว่า ข้าวผัดที่ดีจำต้องผัดจากข้าวเก่าที่หุงทิ้งไว้นานแล้ว ทำให้ข้าวผัดมีเนื้อร่วน ไม่เละ ทำให้คนที่เป็นอาหารเป็นพิษมักเจอในคนที่กินข้าวผัดเป็นประจำ
แต่ไม่ใช่ว่ากินข้าวผัดแล้วเป็นโรคนี้เสมอไป ต่อให้กินข้าวหรืออาหารจำพวกแป้งแบบอื่นๆ ก็ทำให้เป็นโรคข้าวผัดได้เหมือนกัน
แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะโรคข้าวผัดที่เกิดจาก บาซิลัส ซีเรียส ไม่ใช่เชื้อโรคที่พบได้บ่อยเท่ากับการติดเชื้อ อี.โคไล ซัลโมเนลลา แคมไพโลแบคเตอร์ และโนโรไวรัส
แค่เก็บอาหารถูกก็ป้องกันได้
1. กินข้าวเหลือ อยากเก็บไว้กินต่อ เก็บเข้าตู้เย็นโลด
2. อย่าวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนานเกิน 2 ชั่วโมง ยิ่งวันที่อากาศร้อนยิ่งต้องเก็บใส่ตู้เย็นให้ไว ไม่ต้องรอให้เย็นสนิทแล้วค่อยเก็บ
3. ยึดกฎ “2 ชม. / 4 ชม.” อาหารที่วางไว้ในอุณหภูมิห้องนาน 1-2 ชั่วโมง สามารถเอากลับไปใส่ในตู้เย็นได้ และยังกินได้อยู่ แต่ถ้าทิ้งไว้เกิน 4 ชั่วโมงขึ้นไป ไม่ต้องเอาเก็บเข้าตู้เย็นแล้ว เททิ้งได้เลย
4. แบ่งอาหารใส่ในภาชนะเล็กๆ หลายๆ ส่วน จะช่วยให้ความเย็นเข้าถึงอาหารได้มากขึ้น และเมื่อจะเอาออกมากินใหม่ก็จะละลายความเย็นได้ไวขึ้นเหมือนกัน
2. อย่าวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนานเกิน 2 ชั่วโมง ยิ่งวันที่อากาศร้อนยิ่งต้องเก็บใส่ตู้เย็นให้ไว ไม่ต้องรอให้เย็นสนิทแล้วค่อยเก็บ
3. ยึดกฎ “2 ชม. / 4 ชม.” อาหารที่วางไว้ในอุณหภูมิห้องนาน 1-2 ชั่วโมง สามารถเอากลับไปใส่ในตู้เย็นได้ และยังกินได้อยู่ แต่ถ้าทิ้งไว้เกิน 4 ชั่วโมงขึ้นไป ไม่ต้องเอาเก็บเข้าตู้เย็นแล้ว เททิ้งได้เลย
4. แบ่งอาหารใส่ในภาชนะเล็กๆ หลายๆ ส่วน จะช่วยให้ความเย็นเข้าถึงอาหารได้มากขึ้น และเมื่อจะเอาออกมากินใหม่ก็จะละลายความเย็นได้ไวขึ้นเหมือนกัน
การเก็บอาหารให้ถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อน ไม่ควรปล่อยให้ทิ้งข้าวไว้ข้างนอกนานเกิน 2 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus cereus ที่อาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ง่าย แค่เก็บให้ถูกวิธี ก็ช่วยป้องกันได้แล้ว