10 แพ็กเกจตรวจสุขภาพ...คัดสรรให้ครบ จบที่ครอบคลุม

การตรวจคัดกรองโรคร้ายนั้นจำเป็นหรือเปล่า? นอกจากตรวจสุขภาพพื้นฐานประจำปีที่ขาดไม่ได้ การตรวจแบบเจาะลึกเฉพาะทางก็เป็นจุดแข็งที่จะช่วยให้เราได้รู้ทันโรคร้ายได้ตั้งแต่ยังไม่แผลงฤทธิ์ เพราะโรคร้ายแรงหลายชนิดจะแสดงอาการหรือกระทบให้กับร่างกายอย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อเป็นหนักมากแล้ว แถมยังเสียเงินค่ารักษาแพงยิ่งกว่าเสียค่าตรวจสุขภาพซะอีก 

วันนี้ HA เลยจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับการตรวจแต่ละแบบของ 3 โรคร้ายสุดฮอตฮิต สมอง มะเร็ง หัวใจ ตรวจเพื่ออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้างกับร่างกายของเราไปดูกัน



#การตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจในปัจจุบัน 
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย  EST (Exercise Stress Test) ตรวจการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ การหายใจ การเจ็บแน่นหน้าอก โดยวัดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะเดินบนสายพาน เป็นการค้นหาความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ECHO (Echocardiography) ทำให้เห็นขนาด รูปร่าง และการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เหมาะกับผู้ที่มีอาการหอบ เหนื่อยง่าย บวม ที่สงสัยว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของหัวใจ หรือต้องการตรวจคัดกรองแม้ไม่มีอาการ 
  • ตรวจหาหินปูนที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจหาหินปูนหรือแคลเซียมในผนังหลอดเลือดหัวใจ และคุณภาพการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดหัวใจ ด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) หากค่า Calcium Score สูงกว่า 400 จะมีแนวโน้มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายใน 2-5 ปี 
  • ตรวจวัดการแข็งตัวของหลอดเลือด (ABI) เป็นการวัดแรงดันเลือดส่วนปลายขาเทียบกับแรงดันเลือดในแขนข้างเดียวกัน ถ้าค่าที่วัดได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.9 แสดงว่าอาจมีการอุดตันของเส้นเลือดส่วนปลาย ทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นมีปัญหา อันแสดงถึงคุณภาพของหลอดเลือดหัวใจและสมองที่ควรได้รับการตรวจเพิ่ม

#การอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง (Ultrasound)
คือการตรวจหารอยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสะท้อนให้เกิดภาพ เพื่อตรวจดูอวัยวะต่างๆ ภายในว่ามีความผิดปกติหรือไม่และเป็นในจุดใด มีก้อนหรือถุงน้ำขนาดเท่าไหร่
  • การอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) เป็นการตรวจอวัยวะในช่องท้องเหนือระดับสะดือขึ้นไป ได้แก่ ตับ ตับอ่อน ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดีส่วนต้น ไต และหลอดเลือดแดงใหญ่
  • การอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen) เป็นการตรวจอวัยวะในช่องท้องที่ต่ำกว่าระดับสะดือลงไป ได้แก่ มดลูก รังไข่ (หญิง) ต่อมลูกหมาก (ชาย) กระเพาะปัสสาวะ ไส้ติ่ง เป็นต้น

#การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital mammogram)
ผู้หญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม เพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างน้อย 1 ครั้ง อายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจทุก 1-2 ปี แต่หากมีญาติสายตรงเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ควรเริ่มตรวจให้เร็วขึ้น แพทย์จะตรวจเพื่อให้เห็นภาพเนื้อเยื่อ ไขมัน ก้อนเนื้อขนาดเล็ก จุดหินปูนหรือกลุ่มแคลเซียมภายในเต้านม ทำให้ระบุตำแหน่งและค้นหาความผิดปกติเพิ่มเติมได้อย่างแม่นยำ ซึ่งการพบโรคเร็วเป็นการเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาด

#การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ในทางการแพทย์พบว่าเกือบ 100% ของผู้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูก (Cancer of Cervix) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปควรตรวจเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์ หากเคยตรวจและพบความเสี่ยง เช่น มีการติดเชื้อ HPV มีโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต่ำ ควรตรวจสม่ำเสมอทุกปี เพื่อติดตามและเริ่มรักษาเมื่อมีรอยโรค ซึ่งการตรวจ HPV DNA Test เป็นการตรวจที่มีความไวในการพบมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นได้ถึง 99-100% ส่วนการตรวจ Thin prep Pap smear เป็นการตรวจภายในและเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ

#การตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
สามารถพบได้จากการตรวจหาสารโปรตีน AFP ในเลือด ซึ่งเป็นสารบ่งชี้มะเร็งตับ รวมถึงสาร CA 19-9 ที่เป็นสารโปรตีนบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน หากพบความเสี่ยง แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพิ่มเติม

#การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
เป็นการตรวจที่ใช้รังสีในปริมาณต่ำ (low-dose computed tomography, LDCT) ซึ่งจะให้ภาพ 3 มิติ ที่คมชัดและมีความละเอียดสูง จึงสามารถเห็นก้อนมะเร็งได้แม้มีขนาดเล็ก

รวมแพ็กเกจที่คัดสรรแล้ว ครบจบในที่เดียว!
เมื่อรู้แล้วว่า การตรวจแต่ละอย่างมีประโยชน์อย่างไร คราวนี้ก็ต้องมาดูที่ตัวเองและคนในครอบครัว ว่ามีปัจจัยเสียงมากน้อยแค่ไหน เช่น เพศ อายุ และพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือเราเองมีความกังวลใจในโรคไหนบ้าง เมื่อพิจารณาแล้วก็สามารถเลือกช้อปแพ็กเกจได้ตรงใจกันไปเลย!
 


#ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
เหมาะสำหรับคนที่มีอาการปวดหัวบ่อยๆ ปวดหัวเรื้อรัง ต้องการหาสาเหตุแบบเจาะลึก
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม รพ.เพชรเวช :
https://bit.ly/378v90mดูรายละเอียดเพิ่มเติม รพ.เกษมราษฎร์ อินเตอร์ฯ : https://www.kasemradinter.com/site/promotion/43ca0b43-abd9-434e-8c83-ea7230790b6e/detail
#ตรวจคัดกรอง3โรคร้าย สมอง มะเร็ง หัวใจ
เหมาะสำหรับผู้ต้องการเช็กให้ครบแบบจัดเต็มทั้ง สมอง โรคมะเร็ง โรคหัวใจ แพ็กเกจนี้ถือว่าเป็นแพ็กเกจที่น่าสนใจเลย ซื้อครั้งเดียว ตรวจครบทุกความเสี่ยง บอกเลยคุ้มมาก
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม รพ.พญาไท : 
https://bit.ly/3is6kPqดูรายละเอียดเพิ่มเติม รพ.เปาโล :https://bit.ly/3wzdklI
#ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็ง
เหมาะสำหรับผู้มีความเสี่ยงมะเร็งปอด สามารถอัลตร้าซาวด์ช่องท้องดูความผิดปกติของตับได้อีกด้วย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ :
https://bit.ly/3qitlJ8ดูรายละเอียดเพิ่มเติม รพ.สมิติเวช ไชน่าทาวน์ : https://bit.ly/3woiG3s
#คัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจ
เหมาะสำหรับคนที่เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นผิดจังหวะ 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม รพ.นนทเวช :
https://bit.ly/378tNmiดูรายละเอียดเพิ่มเติม รพ.บำรุงราษฎร์ : https://bit.ly/3t8f5Vfดูรายละเอียดเพิ่มเติม รพ.มิชชั่น : https://bit.ly/3HU7hKBดูรายละเอียดเพิ่มเติม รพ.รามคำแหง : https://bit.ly/3HXsp2H
อย่าลืมว่า แม้ไม่มีอาการใดๆ ทุกคนก็มีความเสี่ยง เพราะโรคส่วนใหญ่มักไม่ปรากฏอาการให้เราเห็นได้ในระยะแรก แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ และเมื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพบ (รอย) โรค (ถ้ามี) ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถวางแผนการป้องกันการลุกลาม หรือทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ดีกว่าปล่อยให้โรครุนแรงจนมีอาการ ซึ่งถึงตอนนั้นอาจจะสายเกินไปที่จะรักษาให้หายขาดได้เลย
-->