HPV เธอเป็นใคร? ทำไมไม่น่ารักกับเราเลย
“คุณเป็นใคร เราไม่รู้จักกันแล้วมาทำร้ายฉันทำไม?” คำถามที่อยากถาม HPV โทษฐานที่ไม่อ่อนโยนต่อใจ แถมยังมาทำร้ายให้ต้องเจ็บตัวอีก นี่ยังดีนะว่าล่าสุดมีผลการศึกษาวิจัยโดยสถาบันโรคมะเร็งในสหราชอาณาจักร (UK) ที่ตีพิมพ์ลงในวารสารการแพทย์แลนเซ็ต (Lancet Medical Journal) เปิดเผยวัคซีนป้องกันไวรัส Human Papilloma Virus หรือ HPV ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในโลกความเป็นจริงครั้งแรก ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องทำความรู้จักกันไว้ จะได้เตรียมรับมือ เผื่อมีอะไรขึ้นมา
HPV คุณ คือ ใคร!?
HPV หรือเชื้อแปปิโลมา เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (Low risk type) เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ทำให้กลายเป็นมะเร็ง และกลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง (High risk type) เป็นสายพันธุ์ที่สามารถทำให้เซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ จนนำไปสู่มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) ได้ในที่สุด ซึ่งสายพันธุ์ที่เป็นตัวร้ายและทำอันตรายต่อร่างกายมากที่สุดคือ สายพันธุ์ 16 และ 18 ต้นเหตุสำคัญของการติดเชื้อเนื้อเยื่อบุผิว ที่ก่อให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยสาเหตุการติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้ก่อมะเร็งหรือไม่ก็ได้ รวมถึงการสัมผัสอย่างรุนแรงบริเวณอวัยวะเพศ หรือการติดต่อจากแม่สู่ลูกในระหว่างคลอด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้
HPV คุณ คือ ใคร!?
HPV หรือเชื้อแปปิโลมา เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (Low risk type) เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ทำให้กลายเป็นมะเร็ง และกลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง (High risk type) เป็นสายพันธุ์ที่สามารถทำให้เซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ จนนำไปสู่มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) ได้ในที่สุด ซึ่งสายพันธุ์ที่เป็นตัวร้ายและทำอันตรายต่อร่างกายมากที่สุดคือ สายพันธุ์ 16 และ 18 ต้นเหตุสำคัญของการติดเชื้อเนื้อเยื่อบุผิว ที่ก่อให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยสาเหตุการติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้ก่อมะเร็งหรือไม่ก็ได้ รวมถึงการสัมผัสอย่างรุนแรงบริเวณอวัยวะเพศ หรือการติดต่อจากแม่สู่ลูกในระหว่างคลอด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้
- สูบบุหรี่
- เปลี่ยนคู่นอนหลายคน
- มีเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุน้อย
- มีบุตรจำนวนมาก
ตรวจคัดกรอง (ช่วย) ป้องกันได้
ต่อให้ไม่มีความเสี่ยงก็ใช่ว่าจะทำเฉยปล่อยให้เลยผ่านได้ เพราะผู้ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อ HPV ด้วยว่าไม่มีอาการแสดง อีกทั้งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยังสามารถสามารถกำจัดเชื้อได้เอง จึงอาจทำให้เชื้อ HPV หายไปใน 1-2 ปี แต่ทั้งนี้ก็ยังพอมีวิธีป้องกันด้วยการ...
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุก 3 ปี และตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ทุก 5 ปี
- ควรเข้ารับการตรวจหรือปรึกษากับสูตินรีแพทย์ทันที หากมีอาการผิดปกติทางนรีเวช
- ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี
ทางเลือกป้องกันที่ดีกว่า...ก็ฉีดวัคซีนไปเลยสิคะ!
เพราะถึงยังไงซะการป้องกันก็ย่อมดีกว่า ดังนั้นวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จึงเป็นทางเลือกของการเสริมภูมิคุ้มกันที่ช่วยให้ห่างไกลจากโรคร้าย ซึ่งเกณฑ์ในการฉีดวัคซีนจะแบ่งตามช่วงอายุ โดยถ้าจะให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี (กว่า) ควรฉีดวัคซีนในวัยเด็ก หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยป้องกัน
- มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 ในผู้หญิงไทย
- มะเร็งปากช่องคลอด และช่องคลอด (Vulvar and vaginal cancers)
- รอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก ปากช่องคลอด ช่องคลอด และทวารหนัก
- มะเร็งทวารหนัก (Anal cancer)
- หูดที่อวัยวะเพศ