อย่าเพิ่งตกลงแต่งงาน! ถ้ายังไม่ได้จับเข่าเปิดใจคุย Deep Talk ก่อน

เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ การแต่งงานก็เช่นกัน!

‘การแต่งงาน’ อาจเป็นเรื่องที่ใครๆ ใฝ่ฝันมาทั้งชีวิต แต่ก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลายคู่ที่รักกันมากต้องเลิกรากันไปเช่นเดียวกัน เพราะการตัดสินใจแต่งงานเป็นก้าวสำคัญในชีวิตของทุกคน การเปิดใจพูดคุยกันอย่างจริงจังก่อนตัดสินใจ หรือการคุย Deep Talk ในความสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น เพื่อให้ทั้งคู่เข้าใจและจับมือกันก้าวเดินไปในอนาคตร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่มีใครทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยที่ไม่รู้ตัว

Deep-talk-before-marriage

บางคู่สามารถคุย Deep Talk กันได้ แต่บางคู่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ในการคุยลึกแบบนี้ แนะนำลองให้ทำเป็นแบบทดสอบถาม - ตอบ เพื่อให้ต่างคนต่างเขียนคำตอบของตัวเองแล้วค่อยเอามาแชร์กัน จากนั้นจึงค่อยๆ หาเส้นทางตรงกลาง เพราะถ้าให้คิดหน้างานคือคิดไม่ออกแน่นอน ที่สำคัญ คือ อย่าลืมเว้นช่องว่างไว้สำหรับคำถามที่อยากถามเพิ่มเติม แล้วก็อย่ากลัวที่จะตอบคำถามพวกนั้นด้วยล่ะ

นอกจากนี้ เขาบอกกันว่าทฤษฎี Deep Talk ถ้าจะให้ดี ควรคุยกันบนรถ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศมองดูวิวข้างทางไปเรื่อยๆ มีการพูดคุยกันแบบสบายๆ ไม่ซีเรียสจนเกินไป วิธีนี้จึงเป็นอีกหนึ่งความคิดที่ดีเช่นกัน

จับเข่าคุย ด้วย 6 ประเด็นสุด Deep Talk
1: โลกของเธอ ฉัน และเรา?
ในเมื่อทุกคนล้วนเติบโตมาจากคนละครอบครัว การใช้ชีวิตหรือแนวความคิดย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมดา แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ การพูดคุยเพื่อปรับจูนความคิดให้อยู่ตรงกลาง เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างยอมรับในตัวของกันและกันได้ อาจจะไม่ได้สมบูรณ์ 100% เหมือนที่เราขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ แต่เพียงแค่เราเจอคนที่รักเรา หวังดีกับเรา ไม่ทำร้ายความรู้สึกด้านจิตใจและร่างกาย และเราก็รักเขาเหมือนกัน เท่านี้ก็สมปรารถนาในการใช้ชีวิตคู่แล้ว
 
  • เป้าหมายในชีวิตของตัวเอง
  • ไลฟ์สไตล์ความชื่นชอบส่วนตัว 
  • วางแผนอนาคตไปด้วยกัน
  • บทบาทที่แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก
  • ถ้ามีปัญหากัน จะรับมืออย่างไร?
  • การแบ่งเวลางาน ครอบครัว สังคม และเพื่อนฝูง
  • กิจกรรมยามว่าง และงานอดิเรก
  • ของขวัญวันสำคัญต่างๆ
  • อยากเกษียณตอนอายุเท่าไหร่
  • การเดินทาง และการท่องเที่ยว
  • การแบ่งการทำงานบ้าน

2: เงินทอง หนี้ และค่าใช้จ่ายแสนจุกจิก

บอกเลยว่าเรื่องเงินๆ ทองๆ คือเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน แถมยังทำให้บางคู่ต้องเลิกรากันทั้งที่ยังรักกันอยู่ เพราะทุกอย่างมีค่าใช้จ่ายเสมอ ยิ่งมีลูกด้วยแล้ว การวางแผนเรื่องเงินยิ่งมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นคุณทั้งคู่จึงควรเปิดใจคุยกัน ไม่ปิดบังหนี้สิน หรือไม่โกหกงบการเงินของกันและกัน เพราะกลัวว่าอีกคนจะรับไม่ได้ เท่านี้ก็ทำให้ชีวิตคู่ราบรื่นหายห่วงไปหนึ่งอย่างได้แล้ว

 

  • แบการเงินส่วนบุคคลให้คู่ของเรารับรู้
  • แชร์ทัศนคติในการใช้จ่าย
  • กระเป๋าเงินรวม หรือแยกกระเป๋า
  • การซื้อบ้าน หรือรถคันใหม่
  • ตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายภายในบ้าน
  • แชร์ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลูก
  • วางแผนการเงินร่วมกัน เพื่อเป้าหมายที่ดีในอนาคต
  • การออม และการลงทุนในอนาคต
  • ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
  • ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง
  • ค่าใช้จ่ายค่าประกันต่างๆ 
  • ค่าใช้จ่ายจิปาถะ
 
3: ความสัมพันธ์เชิงลึก และทัศนคติเรื่อง Sex

เรื่องบนเตียงอาจฟังดูเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ในชีวิตคู่มันคือเรื่องของคนสองคน การพูดคุยอย่างเปิดใจเกี่ยวกับความคาดหวังในเรื่องเพศสัมพันธ์ ทัศนคติต่อความซื่อสัตย์และการนอกใจ รวมถึงการแสดงความรักและความต้องการทางอารมณ์ จะช่วยสร้างความเข้าใจและความใกล้ชิดในความสัมพันธ์ให้เพิ่มมากขึ้น และอย่าลืมคุยเรื่องการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดด้วยนะ เพราะนี่คืออนาคตของคุณทั้งคู่ที่สามารถเลือกเองได้
 
  • ภาษารักของแต่ละคู่
  • เปิดใจ ปรับจูน ตกลงกันเรื่อง Sex
  • วางแผนมีลูก หรือไม่มีลูก
  • แบ่งหน้าที่กันเลี้ยงลูก

4: ครอบครัวต้องมาก่อนเสมอ!

เมื่อแต่งงาน คุณไม่ได้แต่งงานกับแค่คนๆ เดียว แต่เป็นการเชื่อมโยงสองครอบครัวเข้าด้วยกัน ความสัมพันธ์กับครอบครัวของทั้งสองฝ่ายจึงมีผลต่อชีวิตคู่อย่างมาก ดังนั้น การได้พูดคุยกันถึงความสัมพันธ์กับครอบครัวเดิม และครอบครัวใหม่ รวมถึงตกลงเรื่องวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะช่วยสร้างความกลมเกลียวให้ครอบครัวใหญ่ได้มีความสุขไปด้วยกัน
 
  • สิ่งที่กังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแต่ละครอบครัว
  • การให้เกียรติครอบครัวอีกฝ่าย
  • ตกลงเรื่องการเลี้ยงลูกของคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย
  • สิ่งที่ทำได้ และสิ่งที่ไม่ควรทำ
  • อาหารการกินของคุณพ่อคุณแม่
  • การดูแลคุณพ่อคุณแม่
  • ค่าใช้จ่ายโดยรวม
 
Deep-talk-before-marriage

5: ความเชื่อและศาสนาส่วนบุคคล

ความเชื่อและศาสนาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตคู่ การเปิดใจ เข้าใจ และเคารพในความเชื่อของกันและกันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่ควรมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่โดนตัดสินว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อถือและยึดเหนี่ยวเป็นความเชื่อที่ผิด แต่ควรมีวิธีปฏิบัติตัว และวิธีจัดการกับความแตกต่างทางความเชื่อ รวมถึงควรมีการตกลงกันก่อนที่จะสอนลูกเรื่องความเชื่อในอนาคตอีกด้วย 

 

  • ความเชื่อส่วนตัว
  • ความเชื่อทางศาสนา
  • การฉลองเทศกาล
  • ความคิดเห็นทางการเมือง
 
6: อาหารการกิน

เมื่อแต่งงาน คุณไม่ได้แต่งงานกับแค่คนๆ เดียว แต่เป็นการเชื่อมโยงสองครอบครัวเข้าด้วยกัน ความสัมพันธ์กับครอบครัวของทั้งสองฝ่ายจึงมีผลต่อชีวิตคู่อย่างมาก ดังนั้น การได้พูดคุยกันถึงความสัมพันธ์กับครอบครัวเดิม และครอบครัวใหม่ รวมถึงตกลงเรื่องวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะช่วยสร้างความกลมเกลียวให้ครอบครัวใหญ่ได้มีความสุขไปด้วยกัน
 
  • อาหารที่ชอบ และไม่ชอบ
  • มื้ออาหารสุดพิเศษในวันสำคัญ
  • ซื้อ หรือทำอาหาร หรือสลับกันไป
  • แบ่งหน้าที่กันในครัว: ใครรับผิดชอบหน้าที่ไหนบ้าง
  • การซื้อของเข้าบ้าน
  • ค่าใช้จ่ายในการทำอาหาร

7: อาชีพ และการงาน
งานเป็นส่วนสำคัญของชีวิต เพราะมีผลโดยตรงต่อเวลาและรายได้ของครอบครัว ดังนั้น การจัดการเวลาระหว่างงานและครอบครัวให้สมดุลกันจึงเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ การแชร์สิ่งที่ดีและไม่ดีจะยิ่งช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้ชีวิตคู่ราบรื่นได้เป็นอย่างดี หากทั้งคู่เปิดใจพร้อมรับฟังข้อบกพร่องของกันและกัน

แน่นอนว่า การเข้าใจ และพร้อมสนับสนุนเป้าหมายทางอาชีพของกันและกันจะช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินและความพึงพอใจในชีวิตให้กับชีวิตคู่ด้วยเช่นกัน
 
  • แชร์ทั้งด้านที่ดี และด้านที่ไม่ดี เกี่ยวกับอาชีพปัจจุบันของพวกคุณ
  • แพลนการย้ายงาน
  • เป้าหมายในอาชีพ
  • ธุรกิจส่วนตัว
  • ความฝัน และเป้าหมายเรื่องงานที่อยากทำให้สำเร็จ

8: สุขภาพร่างกาย
สุขภาพที่ดี คือ พื้นฐานของชีวิตที่มีความสุข พวกคุณจึงควรพูดคุยกันถึงประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว และนิสัยการดูแลสุขภาพของแต่ละคน รวมถึงความคาดหวังในการดูแลกันและกันยามเจ็บป่วย 

อย่าลืม! วางแผนเรื่องประกันสุขภาพและการเก็บออมเพื่อค่ารักษาพยาบาลในอนาคตด้วย การใส่ใจสุขภาพของกันและกันจะช่วยให้พวกคุณสามารถใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและยืนยาว อยู่ด้วยกันไปนานๆ
 
  • ประวัติสุขภาพของแต่ละคน
  • โรคประจำตัว
  • การทำประกันสุขภาพ และประกันชีวิต
  • การดูแลสุขภาพ และการออกกำลังกาย

Deep-talk-before-marriage

เคล็ดลับในการคุย Deep Talk ให้ได้ผล!
  • หาสถานที่และเวลาที่เหมาะสม: เลือกสถานที่ที่เงียบสงบและไม่มีสิ่งรบกวน หรือจะเป็นบนรถยนต์ส่วนตัวก็ได้เช่นกัน
  • เตรียมหัวข้อที่จะพูดคุย: เพื่อให้การสนทนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และราบรื่น ไม่เดดแอร์
  • ฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายอย่างตั้งใจ: ไม่ขัดจังหวะและพยายามเข้าใจมุมมองของอีกฝ่าย
  • แสดงความเห็นอย่างสุภาพ: หลีกเลี่ยงการตำหนิหรือวิจารณ์ในความคิดของฝ่ายตรงข้าม แต่อาจจะมีการขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
  • หาข้อสรุปร่วมกัน: พยายามหาข้อสรุปที่ทั้งคู่พึงพอใจ

หนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ ควรให้ทั้ง 2 ฝ่าย ได้เตรียมพร้อมในการพูดคุยเรื่อง Deep Talk ผ่านการที่ทั้งคู่ได้ตั้งคำถามที่ตัวเองสงสัยหรืออยากรู้ในความสัมพันธ์ด้วยตัวเอง พร้อมเข้าใจและยอมรับผลของการคุย Deep Talk ในเรื่องนั้นๆ โดยที่ไม่ใช่การโดนบังคับให้ทำจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็จะยิ่งกระชับความสัมพันธ์ของชีวิตคู่ให้แน่นแฟ้นมากขึ้นนั่นเอง
-->